การเทศน์และการเรียนรู้ด้วยการลักจำ แด่นักสร้างบารมี 3 หน้า 35
หน้าที่ 35 / 124

สรุปเนื้อหา

การเทศน์ที่ดีนั้นสามารถเรียนรู้ได้จากการสังเกตและลักจำวิธีการของผู้อื่น โดยสิ่งที่น่าสนใจคือการปรับใช้สิ่งที่เราเรียนรู้ให้เข้ากับบุคลิกของตนเอง หลวงพ่อกล่าวถึงการที่เคยเรียนรู้วิธีการเทศน์จากครูทักเพื่อพัฒนาตนเอง ในประการนี้ การฝึกฝนและสังเกตอย่างสม่ำเสมอมีความสำคัญ สามารถช่วยให้เกิดความสามารถในการสื่อสารที่ดี นอกจากนี้ หลวงพ่อยังต้องทำงานและเรียนรู้ไปพร้อมกัน ทำให้เข้าใจว่าการจัดการเวลาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างบารมีในชีวิตของตนเอง

หัวข้อประเด็น

-การเทศน์
-การลักจำ
-การฝึกฝน
-การพัฒนาตนเอง
-การสร้างบารมี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แด่...นักสร้างบารมี ต ๓๕ “ลักจำ” คือ เห็นใครเขาเทศน์ดี ๆ แบ่งเนื้อหา เป็นวรรคเป็นตอนถูกจังหวะ ยกเหตุผลอุปมา อุปไมย อย่างนั้นอย่างนี้ ฟังแล้วทำให้เกิดความซาบซึ้งใจ ก็จํา เอามาทดลองทำดูบ้าง แต่ขอให้รู้ไว้อย่างหนึ่งว่า คำ พูดบางคำ ท่าทางบางอย่างที่คนหนึ่งทำแล้วดูดี แต่ บางทีก็ไม่เหมาะกับบุคลิกของเรา ก็ต้องโยนทิ้งไป อัน ไหนใช้ได้ก็เอามาปรับใช้ตามความเหมาะสม สังเกตและฝึกฝนอบรมอย่างสม่ำเสมอ ทั้งหมั่น หลวงพ่อเองถ้าจะว่าไปแล้ว วิธีเทศน์วิธีสอน บางทีก็ได้มาจากครูทัก แล้วก็ลักจำมา ไม่เคยมีครูฝึก ในเรื่องการเทศน์มาโดยตรง เพราะพอเริ่มสร้างวัดมา ได้เกือบ ๆ ๒ ปีก็บวช ก่อนบวช ไม่มีเวลาซ้อมคำขาน นาคเลย ขนาดพรุ่งนี้จะบวช วันนี้ยังลุยขุดคูน้ำอยู่กลาง ทุ่ง วิธีที่ใช้ท่องคำขานนาค ก็คือ เอากระดาษจดคำ ขานนาคเหน็บกระเป๋าไปด้วย ทำงานไปก็ท่องไป จำได้ ว่าต้องทำอะไรต่ออะไร ๒ อย่างในเวลาเดียวกันอยู่ บ่อย ๆ จนรู้สึกชาตินี้คงต้องทำงานในลักษณะนี้ไป
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More