การทำความดีและกฎแห่งกรรม สัมมาทิฏฐิ รากฐานการพัฒนาชีวิต หน้า 25
หน้าที่ 25 / 56

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการทำความดีในชีวิตประจำวัน แม้ว่าไม่มีใครเห็นหรือรับรู้ การทำความดีต้องมีความเชื่อมั่นในกฎแห่งกรรม ซึ่งช่วยระงับใจให้ทำดีอยู่เสมอ เมื่อเราเชื่อมั่นในหลักการเหล่านี้ จะทำให้สามารถตัดสินใจได้ดี แม้ต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่ยั่วยวนใจให้ทำความชั่ว โดยสร้างสัมมาทิฏฐิขึ้นมา ซึ่งเสริมสร้างจิตใจให้เข้มแข็งในทุกการกระทำ ทั้งยังมีข้อเสนอแนะแก่ผู้อ่านในการใคร่ครวญถึงความดีที่ทำ และการมีชีวิตที่มีคุณภาพที่มาจากการปฏิบัติที่ถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

- การทำความดีในชีวิตประจำวัน
- ความสำคัญของกฎแห่งกรรม
- สัมมาทิฏฐิและการมีจิตใจที่เข้มแข็ง
- ข้อแม้ในการทำความดี
- การตัดสินใจและจิตสำนึกในการกระทำ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๒๕ ไม่ให้ทำ แล้วทำอย่างไร เมื่อมีโอกาสจะทำความดี แม้ ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครรับรู้ ก็พร้อมที่จะทำความดีนั้นให้ สุดชีวิตจิตใจ ถามว่าเรื่องนี้ง่ายไหม ? ค่อนข้างยาก ครั้นจะให้ มีใครตามดูก็ไม่มี มีอย่างเดียว ต้องให้ตัวเองตามดู ตัว เอง แล้วการที่จะให้ใครตามดูตัวเองได้ ก็ต้องให้ซึ้งถึง หลักกฏแห่งกรรมเสียก่อน แล้วก็ความซาบซึ้งใจตรงนี้ นี่เองจะเป็นสัมมาทิฏฐิที่เป็นผู้กำกับติดตัวเราไปทุกย่างก้าว ไปเลยว่า ถ้าหากจะมีโอกาสทำความชั่วโดยไม่มีใครรู้เห็น ก็จะเบรคตัวเองโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ถ้ามีโอกาสจะทำ ความดีก็จะทุ่มชีวิตจิตใจทำลงไป ใครจะรู้ใครจะเห็นหรือ ไม่ ก็ไม่สนใจ การทำความเข้าใจในเรื่องกฎแห่งกรรมนั้น ความจริง ไม่ยากหรอก แต่ต้องจับเงื่อนให้ถูก ขอถามกันตรงๆ “ใครมั่นใจบ้างว่า ดีจริง ? ” ส่วนใหญ่จะบอกว่าไม่มั่นใจ 4 ทําดีต้องได้ พวกเราต้องดูตรงนี้ให้ดี เมื่อก่อนนี้ ก่อนจะเข้าวัด คือ หลวงพ่อเข้าวัดได้สี่ห้าปีถึงได้บวช ก่อนหน้าจะเข้าวัด ไม่มั่นใจเลยว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว มันมีความคลางแคลง เพราะมีความคลางแคลง จึงไม่มีเบรคติดตัว จึงอยากให้ พวกเราลองดูตรงนี้ คนเราจะทําดีให้ได้ดี มันมีข้อแม้ คือ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More