ข้อความต้นฉบับในหน้า
ปกิณกธรรม
เรื่อง : พระมหาเสถียร สุวณฺณฐิโต ป.ธ. ๙ / พระมหาวิริยะ ธมฺมสารี ป.ธ. ๙ / ภาพประกอบ : กองพุทธศิลป์
ทำบุญอย่างผู้มีปัญญา
ochrym
“เมื่ออาตมายังมีการหุงต้มอยู่ ก็ควรถวายโภชนะนั้นแก่ท่านผู้ไม่มีการหุงต้ม เมื่ออาตมา
ยังมีความกังวลและความถือมั่น ก็ควรถวายโภชนะนั้นแก่ท่านผู้ไม่มีความกังวลและความถือมั่น
แล้ว” (ปรัมปรชาดก)
เนื่องจากชีวิตมนุษย์บนโลกนี้แสนสั้น และมี
เวลาอย่างจำกัด เดี๋ยววันเดี๋ยวคืน เดี๋ยวก็หมดเวลา
แล้ว ฉะนั้น เมื่อเราจะสั่งสมบุญ ก็ต้องรู้จักแสวงหา
บุญเขต หรือผู้เป็นเนื้อนาบุญ เพราะว่าการเลือกให้นั้น
พระสุคตเจ้าทรงสรรเสริญ เหมือนการหว่านพืชลง
ในนาดี เมื่อมีดินดี ปุ๋ยดี น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ผลผลิต
ที่ได้ก็ย่อมเจริญงอกงามฉันใด การทำถูกเนื้อนาบุญ
ก็ย่อมนำความปลื้มใจมาให้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของผลบุญ
ที่เกิดจากการให้ในบุญเขตฉันนั้นและย่อมมีอานิสงส์
มากมายดังเรื่องราวต่อไปนี้
"ในสมัยพุทธกาล มีอุบาสกท่านหนึ่งเป็นผู้มี
ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ในแต่ละวัน
ท่านจะต้องทำบุญตักบาตร สมาทานศีล และฟัง
ธรรมไม่ได้เคยขาด วันหนึ่งอุบาสกท่านนี้อยากทำ
สักการะแด่พระธรรมรัตนะบ้าง จึงนำของหอมและ
*มก. ภิกขาปรัมปรชาดก เล่ม ๖๐/๕๓๐
ไทยธรรมจำนวนมากไปวัดพระเชตวัน กราบทูล
ความประสงค์ของตนเองให้พระพุทธองค์ทราบ
พระพุทธองค์จึงตรัสแนะนำว่า “ถ้าเธอปรารถนาจะ
ทำสักการะแด่พระธรรมรัตนะ ก็จงทำสักการะแด่
อานนท์ ผู้เป็นคลังแห่งพระธรรมเถิด”
อุบาสกทูลรับด้วยความร่าเริงเบิกบานใจ จึง
รีบเข้าไปหาพระอานนท์ เมื่อนิมนต์ให้ท่านนั่ง
เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการบูชาด้วยดอกไม้ของหอมและ
ถวายโภชนะอันประณีตมีรสเลิศต่าง ทั้งยังได้
ๆ
ถวายผ้าจีวรราคาแพงด้วย พระเถระใคร่ครวญว่า
สักการะนี้อุบาสกถวายเจาะจงแด่พระธรรมรัตนะ
ไม่สมควรแก่เรา สมควรถวายแด่พระสารีบุตรผู้เป็น
พระธรรมเสนาบดี ซึ่งเป็นอัครสาวกเบื้องขวาผู้เลิศ
ทางด้านมีปัญญา จึงนำภัตตาหารและผ้าจีวรไปถวาย
พระสารีบุตรเถระ ซึ่งกำลังนั่งพักอยู่ในวิหาร
พระสารีบุตรเองก็คิดว่า สักการะนี้เขาถวาย
แด่พระธรรมรัตนะ เราไม่ได้เป็นเจ้าของธรรมะ ไม่
ได้รู้ธรรมะเอง แต่ได้ยินได้ฟังมาจากพระบรมศาสดา