การพัฒนาตนเองตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มกราคม พ.ศ.2554 หน้า 90
หน้าที่ 90 / 124

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ ในการพัฒนาตนเองตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความเห็นเป็นกรอบการคิด ในขณะที่ความคิดคือการปฏิบัติตามกรอบนั้น การทำอย่างสม่ำเสมอและสร้างวินัยจะทำให้เกิดนิสัยและวัฒนธรรมในองค์กร เรื่องเล่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับสมาชิกในองค์กร การใช้ระบบการให้คุณให้โทษสามารถกระตุ้นให้คนทำตามทิศทางที่องค์กรต้องการ การพัฒนาองค์กรนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ต้องมีการลงรายละเอียดและมีการมีกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งในองค์กร ทุกอย่างต้องอิงจากศีล สมาธิ และปัญญาเพื่อให้เกิดผลที่ดี,dmc.tv

หัวข้อประเด็น

- สัมมาทิฐิ
- สัมมาสังกัปปะ
- การพัฒนานิสัยในองค์กร
- การใช้เรื่องเล่าในการเผยแพร่ธรรมะ
- ระบบการให้คุณให้โทษในองค์กร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ขย 1). เรื่องความเห็น มีสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. เรื่องความคิด มีสัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ ความเห็นกับความคิดต่างกันอย่างไร ความ เห็นเป็นตัวชี้ทิศ เป็นกรอบว่าเราจะไปในทิศทางไหน ส่วนความคิดเป็นการคิดเรื่องรายละเอียดตามกรอบ นั้น ถ้าวางกรอบผิด วางทิศทางผิด เช่น วางทิศทาง ไว้ว่าจะต้องเป็นโจร พอวางกรอบอย่างนี้แล้ว ความ คิดจะเป็นไปในทางที่เป็นโทษหมดเลย เพราะว่า ทิศทางผิดตั้งแต่แรก เช่น คิดว่าทำอย่างไรจะไป ขโมยพาสเวิร์ด แล้วก็เอาเงินจากบัญชีธนาคารของ คนอื่นมาได้ อย่างนี้ยิ่งเก่งเท่าไรก็ตาม ใช้ความคิด มากเท่าไรก็ตาม ก็จะเป็นไปในทางที่ผิดหมดเลย เพราะฉะนั้นต้องมีสัมมาทิฐิ มีความเห็นชอบ เป็น การวางกรอบความคิดที่ถูกต้องไว้ก่อน จากนั้นก็ใช้ ความคิดที่ถูกต้องเติมเข้าไปในรายละเอียด ทุกอย่าง ก็จะสมบูรณ์ เพราะฉะนั้น ฐานเรื่องปัญญาต้อง ประกอบด้วย ๒ อย่าง คือ ความเห็นและความคิด จึงจะครบถ้วนบริบูรณ์ นี้คือปัญญา ๓ ฐาน หรือการพัฒนาตนเอง ๓ ฐาน ตามหลักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วจะต้องมีกิจกรรมอะไรมารองรับ จึงจะ ล สามารถพัฒนาทั้ง อย่างนี้ขึ้นมาได้ สิ่งที่ต้องทำ คือ เราจะต้องมีความสม่ำเสมอในกิจกรรมที่สร้าง ให้เกิดวินัย สมาธิ และปัญญา เราจะพบว่า ตำรา บริหารมีมาก แต่ละอย่างที่ยกมาดี ๆ ทั้งนั้น แต่ หัวใจคือจะต้องทำอย่างเอาจริงเอาจังและสม่ำเสมอ ในกรอบของศีล สมาธิ ปัญญา จึงจะเกิดผลดี เพราะเมื่อทำอย่างสม่ำเสมอจะกลายเป็นนิสัย ทั้ง นิสัยส่วนตัวและนิสัยขององค์กร เป็นสิ่งที่ทุกคน ทำจนคุ้นเคยเป็นอัตโนมัติ ที่เรียกว่าวัฒนธรรม องค์กร สมาชิกใหม่เข้ามาก็จะถูกหลอมกลืนเข้าไป สู่วัฒนธรรมนี้ด้วย เมื่อทำจนเป็นนิสัยแล้ว ก็จะทำ อย่างนั้นต่อไปเรื่อย ๆ การใช้เรื่องเล่าก็เป็นสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจมาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ใช้เรื่องเล่าเป็นวิธีการหลัก ในการเผยแผ่ธรรมะในพระพุทธศาสนา ถ้าใครเคย อ่านพระไตรปิฎกจะพบว่า ทั้งพระวินัยและพระสูตร ๆ แล้วคือประมวลเรื่องเล่านั่นเอง หลักธรรม แต่ละเรื่องจะมีที่มาที่ไป เล่าท้องเรื่องก่อน แล้วก็ มาถึงหัวใจคือหลักธรรม เพราะฉะนั้น เรื่องเล่าจึง มีความสำคัญ เป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจให้ คนอยากจะทําตาม จริง ฉะนั้น จะให้ผู้บริหารมาเล่าเรื่องเร้าใจ เพื่อ จูงใจให้เกิดพลังทำสิ่งที่องค์กรปรารถนาก็ได้ ให้ สมาชิกช่วยกันเล่าก็ได้เหมือนกัน เพราะเรื่องเล่า เป็นเรื่องที่น่าสนใจ และจะซึมซับเข้าไปโดยไม่รู้ตัว แต่ถ้าเล่าครั้งเดียวแล้วเลิก อะไรจะเกิดขึ้นก็หวือหวา ชั่วคราวแล้วก็หายไป แต่ถ้ามีเรื่องเล่าจากคนนั้น คนนี้ เรื่องนั้นเรื่องนี้สม่ำเสมอทุกวัน ก็จะค่อย ๆ ซึมซับจนกระทั่งเป็นนิสัย แล้วจะกลายเป็นวัฒนธรรม องค์กรขึ้น หรืออาจจะใช้ระบบการให้คุณให้โทษใน องค์กรก็ได้ เพราะระบบการให้คุณให้โทษถ้าหาก ทำอย่างชัดเจน แล้ววางเป็นกรอบกติกาที่ทุกคน รับรู้รับทราบพร้อมกันว่า ถ้าทำตามทิศทางนั้นจะ ได้ประโยชน์ แต่ถ้าออกนอกทิศทางก็จะเกิดโทษ อย่างนี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้คนอยากจะไปในทิศทาง นั้น และจะมีแนวโน้มอยู่ในกรอบขององค์กร หรือจะอยู่ในรูปแบบของกิจกรรม เพราะถ้า ลงรายละเอียดแล้วจะพบว่าการพัฒนาองค์กรมีรูป แบบหลากหลายมาก จะไปออกกำลังกายด้วยกันก็ได้ หรือบางบริษัทโดยเฉพาะของญี่ปุ่นตอนเช้าก่อน เริ่มงาน บางครั้งจะให้พนักงานเต้นแอโรบิกหรือ ออกกำลังกายร่วมกันสัก ๕ นาที ๑๐ นาที แล้วก็
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More