การเจริญเติบโตของพระพุทธศาสนาผ่านวัดอัมพาฏกวัน วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มกราคม พ.ศ.2554 หน้า 82
หน้าที่ 82 / 124

สรุปเนื้อหา

วัดอัมพาฏกวันกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่โด่งดัง ส่งผลให้ชาวบ้านได้ฟังธรรมจากพระภิกษุและพระอรหันต์ต่างถิ่น อีกทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายพระพุทธศาสนาอย่างรวดเร็ว เรื่องราวของพระอิริทัตตะเป็นตัวอย่างที่สะท้อนถึงความสำคัญของการบวชและความเชื่อมั่นในพระพุทธคุณในท้องถิ่นนี้ ในการศึกษาเหล่านี้ แสดงให้เห็นการเติบโตของศรัทธาที่นำไปสู่การสถาปนาศูนย์การเรียนรู้และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างประสบความสำเร็จในช่วงเวลานั้น

หัวข้อประเด็น

-การเจริญเติบโตของพระพุทธศาสนา
-ความสำคัญของวัดอัมพาฏกวัน
-ศรัทธาของจิตตคฤหบดี
-พระอิริทัตตะและการบวช
-การศึกษาและการเผยแผ่ธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

KO เมื่อกลับจากการเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาแล้ว ชื่อเสียงของท่านคฤหบดีก็เป็นที่เลื่องลือ ไปทั่วทุกแคว้น วัดอัมพาฏกวันจึงกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาประจำท้องถิ่นที่โด่งดัง ทำให้ มีพระภิกษุจากต่างถิ่นเดินทางไปพำนักที่นั่นไม่ขาดสาย ส่งผลให้ที่นั่นไม่เคยขาดแคลนครู สอนศีลธรรมแม้แต่วันเดียว ชาวบ้านจึงได้ฟังธรรมอย่างเต็มอิ่มจากพระอรหันต์ต่างถิ่นอยู่ เป็นประจำสม่ำเสมอ ส่งผลให้พระภิกษุในท้องถิ่นเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วและมีผู้บรรลุ ธรรมตามมาเป็นอันมาก ต่อจากนั้นไม่นาน วัดอัมพาฏกวัน จึงกลายเป็น “พุทธอารามเพื่อ การศึกษาของผู้คนในท้องถิ่น” และ “ชุมทางพระอรหันต์ที่จะเดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วแผ่นดินไปโดยปริยาย ดังเช่นตัวอย่างของ “พระอิริทัตตะ” ซึ่งก่อนบวช ท่านเป็นบุตรของนายกองเกวียน อยู่ที่หมู่บ้านวัฑคาม แคว้นอวันตี เป็นอทิฏฐสหาย (สหายที่ไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อน) กับจิตตคฤหบดี หลังจากได้อ่านจดหมายพรรณนาพระพุทธคุณที่สหายส่งมาให้แล้ว ก็เกิด ศรัทธาแรงกล้า ตัดสินใจออกบวชในสำนักของพระมหากัจจายนะ (พระอรหันต์เถระผู้เลิศ ด้วยการอธิบายธรรม) บำเพ็ญเพียรไม่นานนัก ก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ หลังจากนั้น ท่านต้องการไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา จึงเดินทางไปที่วัดอัมพาฏกวัน ซึ่งเป็นทางผ่านไป กรุงราชคฤห์ ขณะพำนักอยู่ที่นั่น ท่านได้ตอบปัญหาธรรมะของจิตตคฤหบดีให้เป็นที่แจ่ม ชัด สร้างความพึงพอใจแก่หมู่สงฆ์ยิ่งนัก หลังจากซักถามประวัติกันแล้ว เมื่อจิตตคฤหบดี ได้ทราบว่าท่านคืออทิฏฐสหายที่ออกบวชเพราะได้รับจดหมายข่าวของตน ก็ปีติยิ่งนักและ ได้อาราธนาให้ท่านอยู่ประจำที่วัดนั้น พระเถระกล่าวอนุโมทนาต่อคำเชิญของจิตตคฤหบดี แล้วก็เก็บสัมภาระส่วนตัว เดินทางมุ่งหน้าไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาตามความประสงค์ต่อไป เรื่องราวในทำนองเดียวกับพระอิริทัตตะนี้มีบันทึกไว้ในคัมภีร์อีกหลายรูปหลายคณะ เช่น พระอรหันต์ที่เป็นพระเถราจารย์ประจำอยู่ที่นั่น พระอรหันต์ที่เดินทางเพียงลำพังเพื่อ ไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระอรหันต์ที่เดินทางไปเผยแผ่ต่างแคว้น หรือพระภิกษุผู้ปรารภ ความเพียร ซึ่งไม่ว่าพระอรหันต์จะเดินทางไปพำนักที่อัมพาฏกวันจำนวนกี่รูปก็ตาม จิตต คฤหบดีก็ทำหน้าที่ของอุบาสก ให้การต้อนรับอุปัฏฐากดูแลด้วยปัจจัย ๔ อย่างดีเยี่ยม โดยไม่ขาดตกบกพร่อง อีกทั้งยังอาราธนาให้พระอรหันต์เถระแสดงธรรมตามที่ได้บรรลุให้ ประชาชนฟังอยู่เสมออีกด้วย ทำให้จำนวนชาวพุทธเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การศึกษาเรื่องราวของ “วัดอัมพาฏกวัน” ทำให้เห็นภาพการเจริญเติบโตของ พระพุทธศาสนาจากจุดหนึ่งขยายตัวไปสู่อีกหลาย ๆ จุดได้อย่างชัดเจน นั่นคือ การ เริ่มต้นจากศรัทธาของ “จิตตคฤหบดี” ที่มีต่อ “พระมหานามะ” ได้นำไปสู่การถวายอุทยาน เป็นสังฆาราม ก่อกำเนิด “วัดเพื่อการศึกษาประจำท้องถิ่น” หลังจากนั้น ได้กลายเป็น “ศูนย์ ผลิตธรรมทายาท” ให้เกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนา ก่อนจะกลายมาเป็น “ชุมทางพระอรหันต์” ไปโดยปริยาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More