อัมพาฏกวัน: ความสำคัญในพระพุทธศาสนา วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มกราคม พ.ศ.2554 หน้า 81
หน้าที่ 81 / 124

สรุปเนื้อหา

อัมพาฏกวันเป็นสวนมะม่วงที่จิตตคฤหบดีถวายให้เป็นสังฆาราม เมื่อได้ฟังพระธรรมคำสอนจากพระมหานามะ ทำให้เขาบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันและมีศรัทธาในการสร้างวัด เพื่อรองรับภิกษุสงฆ์ที่เดินทางมาจากที่ต่างๆ ต่อมาพระอัครสาวกได้มาที่อัมพาฏกวัน พร้อมพระภิกษุอีก ๑,๐๐๐ รูป เพื่อสร้างเนื้อนาบุญ เมื่อจำนวนชาวพุทธเพิ่มขึ้นก็ได้มีการขยายวัดอัมพาฏกวัน และทำให้มีพุทธบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่รู้จักในวงการสงฆ์และชาวพุทธ

หัวข้อประเด็น

-อัมพาฏกวัน
-พระมหานามะ
-จิตตคฤหบดี
-สังฆาราม
-ศรัทธาในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อัมพาฏกวัน พุทธอารามเพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา ในสมัยยุคต้นพุทธกาล จิตตคฤหบดี ชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะ แคว้นมคธ ได้พบเห็น ท่านพระมหานามะ ซึ่งเป็นหนึ่งในพระภิกษุปัญจวัคคีย์ (กลุ่มบรรพชิตห้ารูปแรกที่ได้รับ การประทานการบวชในพระพุทธศาสนาจากพระบรมศาสดาโดยตรง) กำลังเดินบิณฑบาต ด้วยปฏิปทาสงบเสงี่ยม อินทรีย์ผ่องใส ทำให้จิตตคฤหบดีเกิดความศรัทธา ขอรับบาตร จากท่าน และนิมนต์ไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตน เมื่อพระเถระฉันเสร็จแล้ว ได้เห็นอุปนิสัยแห่งการบรรลุธรรมของจิตตคฤหบดี จึง แสดงธรรมให้ฟัง หลังจบพระธรรมเทศนา จิตตคฤหบดีได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน จึงปรารถนาจะถวายอุทยาน “อัมพาฏกวัน” หรือสวนมะม่วงของตนให้เป็นสังฆาราม ใน ขณะที่หลั่งน้ำมอบถวายอารามลงในมือพระเถระนั้น แผ่นดินถึงกับสะเทือนหวั่นไหว เป็น การบอกเหตุให้รู้ว่า “พระพุทธศาสนาได้ตั้งมั่นแล้ว” เพราะในยุคต้นพุทธกาลนั้นยังขาดแคลน วัดในพระพุทธศาสนาอยู่เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้น จิตตคฤหบดีได้นิมนต์ให้พระเถระมารับบาตรอยู่เป็นนิจ จึงก่อสร้าง วิหารใหญ่และที่อยู่อาศัยถวายแด่พระภิกษุที่เดินทางมาจากทิศทั้งปวง 2 ต่อมาพระอัครสาวกทั้งสอง คือพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ได้ยินข่าวเรื่อง การถวายอุทยานเป็นสังฆารามของท่าน จึงเดินทางมาพร้อมกับพระภิกษุอีก ๑,๐๐๐ รูป เพื่อสงเคราะห์ท่านด้วยเนื้อนาบุญอันยิ่งใหญ่ เมื่อจิตตคฤหบดีทราบข่าว ก็รีบออกไปต้อนรับ ตั้งแต่หนทางกึ่งโยชน์ หรือ 6 กิโลเมตร (๑ โยชน์เท่ากับ ๑๖ กิโลเมตร) หลังจากต้อนรับ ปฏิสันถารพระอัครสาวกทั้งสองแล้ว ก็นิมนต์ท่านพักในวิหาร และวิงวอนขอฟังธรรม พระสารีบุตรก็อนุเคราะห์ด้วยการเทศน์สั้น ๆ ไม่กี่คำ ท่านคฤหบดีก็ได้บรรลุธรรมเป็น พระอนาคามี และนิมนต์พระอัครสาวกทั้งสองพร้อมด้วยภิกษุทั้งหมดไปฉันภัตตาหารที่บ้าน ของตนในวันรุ่งขึ้น ชื่อเสียงของอัมพาฏกวันก็เป็นที่รู้จักเลื่องลือในหมู่สงฆ์และชาวพุทธ ยิ่งขึ้นกว่าเดิม ต่อมา เมื่อจำนวนชาวพุทธเพิ่มมากขึ้นแล้ว ท่านต้องการจะเดินทางข้ามแคว้นมคธ ไปเฝ้าพระบรมศาสดา ณ วิหารเชตวัน แคว้นโกศล ปรากฏว่า ในขบวนเกวียน ๕๐๐ เล่ม ที่บรรทุกเสบียงไว้เต็มนั้น มีพุทธบริษัท ๔ ใหม่ ที่ยังไม่เคยเข้าเฝ้าพระบรมศาสดามาก่อน ถึง ๓,๐๐๐ คน ได้แก่ ภิกษุ ๕๐๐ รูป ภิกษุณี ๕๐๐ รูป อุบาสก ๕๐๐ คน อุบาสิกา ๕๐๐ คน และบริวารอีก 9,000 คน จำนวนพุทธบริษัท ๔ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ เป็นผล มาจากการสร้างวัดอัมพาฏกวันนั่นเอง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More