การพัฒนาคนด้วยปัญญา ๓ ฐาน วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มกราคม พ.ศ.2554 หน้า 88
หน้าที่ 88 / 124

สรุปเนื้อหา

หลักการในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรโยงเข้ากับปัญญา ๓ ฐานซึ่งได้แก่ ฐานกาย (ศีล), ฐานใจ (สมาธิ), และฐานความคิด (ปัญญา) ถือเป็นแกนหลักในการให้ความรับผิดชอบและวินัยในการทำงาน สำหรับการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและความซื่อสัตย์ในการดำเนินงาน ในส่วนของสมาธิ ควรมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และปลูกฝังความรับผิดชอบในทุกระดับขององค์กร

หัวข้อประเด็น

-การพัฒนาบุคคล
-ปัญญา ๓ ฐาน
-ศีล สมาธิ ปัญญา
-วินัยในองค์กร
-ความรับผิดชอบ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๘๖ ทันโลกทันธรรม เรื่อง : พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ (M.D., Ph.D.) จากรายการทันโลกทันธรรม ออกอากาศทางช่อง DMC การพัฒนาคนด้วย “ปัญญา ๓ ฐาน” idea หลักในการพัฒนาบุคคลในยุคนี้มีอยู่มากมาย และมีการนำเสนออีกหลักหนึ่งโดย ดร.วรพัฒน์ En 60 ภู่เจริญ ท่านเสนอวิธีพัฒนาบุคลากรในองค์กรด้วย หลัก “ปัญญา ฐาน” และที่น่าสนใจคือ หลัก ปัญญา ฐานนี้ ท่านเอามาจากหลักธรรมใน พระพุทธศาสนา คือเรื่องของศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งรายละเอียดของ “ปัญญา ๓ ฐาน คือ ฐานกาย เป็นเรื่องของศีล ฐานใจ เป็นเรื่องของสมาธิ และ ฐานที่ ๓ ฐานความคิด เป็นเรื่องของปัญญา ข้อแรก ศีล (ฐานกาย) คือเรื่องความมีวินัย ทางกายและวาจานั่นเอง เพราะฉะนั้น อาตมาจึง อยากจะใช้คำว่าฐานวินัย ซึ่งคลุมทั้งกายและวาจา ฐานวินัยนี้ ในแง่ของการทำงานก็คือให้เป็นคนที่มี วินัยในตัวเองและมีความรับผิดชอบ ถ้าในแง่ของ องค์กรก็คือเป็นองค์กรที่รับผิดชอบ เช่น สินค้าที่ ผลิตออกมาการันตีคุณภาพได้ ไม่มีการปลอมปน ปลอมแปลง ไม่ทำแบบกรณีที่เอาเมลามีนมาผสมใน นมของจีน ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่รับผิดชอบ ทำแล้ว เสียหายทั้งบริษัทจนถึงกับล้มละลาย เพราะคนไม่ กล้าซื้อผลิตภัณฑ์นมจากบริษัทนี้อีกต่อไป และยัง เสียหายไปถึงประเทศจีนอีกด้วย จะเห็นได้ว่าหาก ขาดความรับผิดชอบเมื่อไร ความเสียหายก็จะเกิดขึ้น มากมาย เพราะฉะนั้นจะต้องปลูกฝังความรับผิดชอบ ให้กับบุคลากรทั้งบริษัท เพราะบริษัทเกิดมาจาก บุคลากรในบริษัทแต่ละคนมารวมกันถ้าทุกคนมีวินัย มีความรับผิดชอบในตัวเอง และมีความซื่อสัตย์ บริษัทนั้นก็เป็นที่ไว้ใจได้ ข้อที่ ๒ สมาธิ (ฐานใจ) คือเรื่องของความ เพียรชอบ มีสติชอบ สมาธิชอบ โดยย่อก็คือให้เป็น คนที่ขยันพัฒนาตนเองตลอด เพราะความขยันหรือ ความเพียรชอบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าขยายความ ออกเป็น ๔ อย่าง คือ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More