การบำเพ็ญภาวนาในวัดป่า วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มกราคม พ.ศ.2554 หน้า 84
หน้าที่ 84 / 124

สรุปเนื้อหา

การบำเพ็ญภาวนาในวัดป่าช่วยให้ผู้คนมีเวลาในการดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ แม้จะมีการทำงานอย่างหนัก การสูญเสียสมดุลทางอิริยาบถ อาจทำให้ร่างกายต้องสะสมสารพิษ จึงจำเป็นต้องมีการหาความสงบในธรรมชาติ โดยการสร้างวัดป่าที่เป็นที่พักอาศัยสำหรับพระภิกษุและชาวบ้าน การรักษาบรรยากาศสงบเงียบช่วยให้มีเวลาภาวนา การกำจัดอาสวกิเลสภายในเป็นวัตถุประสงค์สำคัญของการกลับไปอยู่ในวัดป่า การบำเพ็ญภาวนานี้ช่วยให้เลือดและอินทรีย์ของคนเราบริสุทธิ์ และเป็นแนวทางในการสร้างพระพุทธศาสนาให้มั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว.

หัวข้อประเด็น

-การบำเพ็ญภาวนา
-สุขภาพจิต
-การสร้างวัดป่า
-การอยู่ในสงบ
-ศรัทธาในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ ซึ่งมีมากมายหลายกลุ่ม การตรากตรำกรำงานโดยไม่มีเวลาพักอย่างคนทั่วไป เพราะต้องเร่งทำงานให้ทัน กับความต้องการของส่วนรวมเป็นใหญ่ ทำให้ร่างกายเกิดอาการสะสมสารพิษตกค้าง โดยไม่รู้ตัว กว่าจะรู้อีกทีก็ล้มป่วยเสียแล้ว ซึ่งมีสาเหตุใหญ่ ๒ ประการ ได้แก่ อายุสังขารที่ร่วงโรยไปตามวัย ๑. ๒. อิริยาบถ ๔ ไม่สมดุลตลอดทั้งวัน เช่น นั่ง นอน ยืน เดินไม่สมดุล ดังนั้นการได้หลีกเร้นออกไปบำเพ็ญภาวนาจะช่วยให้จิตใจมีความบริสุทธิ์เป็นพิเศษ ร่างกายมีความสะอาดเป็นพิเศษ ในคัมภีร์มีบันทึกไว้ว่า เลือดของคนเราจะบริสุทธิ์ได้ ก็ ต่อเมื่อใจบริสุทธิ์ เมื่อเลือดบริสุทธิ์ อินทรีย์ (ร่างกาย) ก็จะผ่องใส เพราะมีเวลาให้ร่างกาย กำจัดสารพิษตกค้างให้หมดไปและฟื้นฟูความสดชื่นกระปรี้กระเปร่าให้กลับคืนมาอีกครั้ง สังขารก็จะยืดอายุการใช้งานออกไปได้อีกหลายปี การประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคง ก็จะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในระยะยาวมากยิ่งขึ้น การสร้างวัดป่า มักนิยมสร้างเป็นกุฏิที่พักขนาดเล็ก พอใช้กันแดดกันลมกันฝน อยู่จำพรรษาได้ ตั้งอยู่ในป่าใกล้เชิงเขา บางแห่งก็สร้างถวายเป็นวิหารที่พักไว้ในป่าใหญ่ บางแห่งไม่มีการสร้างอาคาร แต่อาศัยอยู่ในถ้ำ ซอกเขา เงื้อมเขาแทนกุฏิหรือวิหาร ในสมัยพุทธกาลนั้น บุคคลที่สร้างวัดป่าส่วนใหญ่ได้แก่ “หัวหน้าหมู่บ้าน” หรือ “ชาวบ้านที่มีศรัทธา” ถ้าเป็นหัวหน้าหมู่บ้านก็จะใช้กำลังทรัพย์และกำลังบริวารของตัวเอง เป็นเรี่ยวแรงในการสร้างวิหารไว้ในป่า จากนั้นก็จะนำปัจจัย ๔ ไปถวายอุปัฏฐากพระภิกษุ ถึงที่วัดตลอดทั้งพรรษา แต่ถ้าเป็นชาวบ้านก็จะอาศัยกำลังของตัวเองเพียงลำพังในการ สร้างกุฏิที่พักไว้ในป่า จากนั้นจะนิมนต์ให้ไปรับบิณฑบาตที่บ้านในเวลาเช้า บางคนก็นิมนต์ พระภิกษุให้ฉันที่บ้าน บางคนก็ใส่บาตรให้พระภิกษุนำกลับไปฉันที่วัด หลังจากพระภิกษุ ฉันเสร็จแล้ว ก็จะนั่งบำเพ็ญภาวนาในที่หลีกเร้นตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน บรรยากาศ ในวัดป่า จึงไม่มีการประชุมรวมคนในหมู่บ้านเพื่อทำบุญและฟังธรรม มีแต่บรรยากาศของ การบำเพ็ญภาวนาอย่างเงียบสงบตลอดวันเพราะพระภิกษุต้องการใช้วันเวลาในวัดป่าตลอด ทั้งพรรษา ให้หมดไปกับการกำจัดอาสวกิเลสภายในให้หมดสิ้นไปอย่างรวดเร็วที่สุด ซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ของการไปจำพรรษาอยู่ในป่านั่นเอง อรัญญสูตร, ส.ส.อ. ๒๔/๒๑ - ๒๒/๖๗ (มมร.) (อ่านต่อฉบับหน้า)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More