บทบาทของสตรีในพระพุทธศาสนา วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มกราคม พ.ศ.2554 หน้า 38
หน้าที่ 38 / 124

สรุปเนื้อหา

ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระอุบลวรรณาเถรีและพระเขมาเถรีเป็นพระอัครสาวิกา แสดงให้เห็นถึงบทบาทของสตรีในพระพุทธศาสนาอย่างเด่นชัด ด้วยการที่สตรีสามารถร่วมอุปสมบท เป็นผู้บรรลุธรรม และร่วมสร้างความยั่งยืนในพระศาสนาในปัจจุบัน นับว่าเป็นการยกย่องความสำคัญของสตรีในฐานะที่เป็นทหารกล้าของกองทัพธรรม สตรีจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างความสงบสุข และช่วยเผยแผ่ธรรมะขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อฟื้นฟูสันติสุขแก่มหาชน

หัวข้อประเด็น

- บทบาทของสตรีในพระพุทธศาสนา
- การเป็นพระอัครสาวิกา
- การเผยแผ่ธรรมะ
- ความสำคัญของนางวิสาขามหาอุบาสิกา
- สตรีในฐานะนักบวช

ข้อความต้นฉบับในหน้า

( กนฺทสโร) เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรง ตั้งพระอุบลวรรณาเถรี เป็นพระอัครสาวิกาเบื้องซ้าย ด้านผู้มีฤทธิ์ และพระเขมาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา เบื้องขวา ด้านผู้มีปัญญามาก แม้ในยุคของพระศรี อริยเมตไตรย์ พระองค์ก็จะทรงตั้งนักบวชสตรีหรือ ภิกษุณี คือ พระสุมนาเถรีขึ้นเป็นพระอัครสาวิกา เบื้องซ้าย และพระปทุมาเถรีเป็นพระอัครสาวิกาเบื้อง ขวา นั่นก็แสดงว่า “สตรี” มีบทบาทในการเผยแผ่ และสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาอย่างโดดเด่นเคียงคู่ กับบุรุษเพศมาตลอดแม้กระทั่งไปจนถึงอนาคตข้าง หน้า และโดยเฉพาะในขณะปัจจุบันนี้ “สตรี” ใน พระพุทธศาสนาทั้งในและต่างประเทศนับล้านกำลัง ร่วมกันชูธงธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้โบกสะบัดพัดไสว เพื่อฟื้นฟูพระอริยสัทธรรมและ นำมหาชนไปสู่เส้นทางแห่งสันติสุขที่แท้จริงอย่างน่า อนุโมทนาสาธุการ สตรีในพระพุทธศาสนา คือทหารกล้าแห่งกองทัพธรรม พระพุทธองค์ทรงยกย่องสถานะสตรีว่ามีความ สำคัญอย่างยิ่งทั้งในสถานะของการเป็นหนึ่งในพุทธ บริษัทที่จะร่วมกันเชิดชูและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และทั้งในฐานะของนักบวชผู้สามารถบรรลุธรรม สู่ความเป็นพระอริยบุคคล จนสู่เส้นทางแห่งความ หลุดพ้นได้ ดังเช่น นางวิสาขามหาอุบาสิกา ที่แม้ เป็นเพียงฆราวาสผู้ครองเรือนอยู่ ก็ยังสามารถบรรลุ โสดาปัตติผลได้และยังเป็นอุบาสิกาผู้เป็นกำลังสำคัญ ที่สนับสนุนพระพุทธศาสนา จนได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้เลิศทางด้านการเป็นอุปัฏฐายิกา ส่วนในเพศ นักบวชนั้น พระพุทธสาวิกาตลอดจนภิกษุณีทั้งหลาย ๓๖
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More