ข้อความต้นฉบับในหน้า
ด้วยหมู่คณะ จึงหลีกออกปลีกวิเวกไปรักษาศีลอยู่
ตามลำพัง เนื่องจากเป็นสัตว์ที่รักษาศีล จึงมีชื่อว่า
“สีลวนาคราช” แปลว่า พญาช้างรักษาศีล
สมัยนั้น มีพรานป่าชาวพาราณสีคนหนึ่ง ได้
เข้าไปหาของป่ามาเลี้ยงชีพ เกิดพลัดหลงจำทางออก
ไม่ได้ จึงหลงทางอยู่หลายวัน คิดว่าต้องอดตายอยู่
ในป่านี้แน่ จึงร้องไห้คร่ำครวญให้เจ้าป่าเจ้าเขาช่วย
ชี้แนะทางออกจากป่า พญาช้างได้ยินเสียงร้องไห้ของ
นายพราน ก็เกิดความสงสาร จึงเดินเข้าไปใกล้ ๆ
แล้วพูดด้วยภาษามนุษย์ว่า “ทำไมท่านถึงได้ร้องไห้
อยู่ในป่าแห่งนี้ล่ะ” นายพรานบอกว่า “เราหลงทาง
อยู่ในป่ามาหลายวันแล้ว ขอท่านได้โปรดชี้ทางออก
ด้วยเถิด”
พระโพธิสัตว์ได้ปลอบใจว่า “ท่านอย่ากลัวไป
เลย ข้าพเจ้าจะช่วยท่านเอง” ว่าแล้วก็ให้นายพราน
ขึ้นนั่งบนหลัง แล้วพาไปหาผลไม้ให้กินจนอิ่มหนำ
สำราญ จากนั้นก็พาออกจากป่าไป ก่อนจากกัน
พญาช้างได้ขอร้องนายพรานว่า “พ่อหนุ่ม ถ้ามีใคร
ถามถึงที่อยู่ของฉัน ขออย่าได้บอกเป็นอันขาดนะ”
ทว่านายพรานกลับคิดไม่ซื่อ เห็นว่าพญาช้าง
ไม่กล้าทำร้ายใคร ยอมตายไม่ยอมเสียศีล แทนที่จะ
ชื่นชม กลับคิดแต่อยากจะตัดงาของพญาช้างเชือกนี้
ไปขาย จึงได้พยายามจดจำหนทาง เมื่อนายพราน
ไปถึงเมืองพาราณสีแล้วได้เห็นรูปแกะสลักต่าง ๆ
ที่ทำจากงาช้าง จึงถามพวกพ่อค้าว่า “ถ้าได้งาช้าง
ที่ยังเป็น ๆ ท่านทั้งหลายจะซื้อไหม” พวกช่างสลัก
งาก็ตอบว่า “ซื้อสิพราน เพราะงาช้างที่ยังมีชีวิต
มีค่ามากกว่างาช้างที่ตายแล้วหลายเท่านัก” “ถ้ารับซื้อ
ข้านี่แหละจะนำงาช้างเป็นมาขายให้พวกท่านเอง”
ว่าแล้วก็ไปหาเลื่อยขนาดใหญ่แบกเข้าป่าหิมพานต์
มุ่งตรงไปยังที่อยู่ของพระโพธิสัตว์
พญาช้างเห็นนายพรานกลับเข้ามารู้ได้ทันทีว่า
ภัยมาถึงตัวแล้ว แต่ก็ทักทายปฏิสันถารกับนายพราน
ด้วยความเอื้อเฟื้อเหมือนปกติ นายพรานพูดจาขอร้อง
P