การสร้างความดีแบบเป็นทีมตามหลักอปริหานิยธรรม วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน เมษายน พ.ศ.2555 หน้า 83
หน้าที่ 83 / 132

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของการสร้างความดีโดยการทำงานร่วมกันในแบบเดียวกับพระพุทธองค์ได้ทรงสอน โดยเฉพาะในหลักอปริหานิยธรรม ซึ่งได้เน้นการประชุมประจำ การเคารพผู้ใหญ่ และการร่วมกันทำบุญ เพื่อสร้างความสามัคคีและเสริมสร้างบุญร่วมกัน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการเผชิญกับทุกข์ทั้งสามในชีวิตและการแสวงหาความรู้พื้นฐานเพื่อจัดการกับทุกข์เหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย การปฏิบัติตามหลักอปริหานิยธรรม จะส่งผลให้พระพุทธศาสนายังคงอยู่ต่อไปแม้หลังพระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน

หัวข้อประเด็น

-หลักอปริหานิยธรรม
-การสร้างความดีแบบเป็นทีม
-การทำบุญร่วมกัน
-การเผชิญกับทุกข์
-การพัฒนาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ด้วยเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงให้ความสำคัญต่อการสร้างความดีอย่างเป็น ทีม โดยตรัสแสดงไว้ใน “อปริหานิยธรรม” ว่า 9. หมั่นประชุมกันเป็นเนืองนิตย์ ๒. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจจึงจะทำ ก. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธองค์มิได้บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระพุทธองค์บัญญัติไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นอยู่ในสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ๓. ๔. ให้ความสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ผู้ใหญ่ที่เป็นประธาน ให้ความสำคัญใน ถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง ๕. ไม่ลุแก่อำนาจของตัณหาที่ก่อให้เกิดภพใหม่ที่เกิดขึ้นแล้วในใจ 5. ยินดีในการบำเพ็ญภาวนาในเสนาสนะป่า ๗. ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้มีศีลงดงามที่ยังไม่มา ก็ขอให้ได้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่อย่างผาสุก การสร้างความดีแบบเป็นทีมนั้น มีความสำคัญอย่างใหญ่หลวงต่อการฝึกฝนอบรม ตนเองยิ่งนัก พระพุทธองค์ถึงกับทรงมีรับสั่งว่า หากหมู่ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติต่ออปริหานิยธรรม นี้อย่างเคร่งครัด แม้พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว พระพุทธศาสนาก็จะไม่มี วันเสื่อมสลาย ดังนั้น การชักชวนหมู่ญาติสนิทมิตรสหายให้สร้างบุญร่วมกันเป็นประจำ ก็ถือว่าเป็น การปฏิบัติอปริหานิยธรรมร่วมกันอย่างเคร่งครัดได้เหมือนกัน เพราะทำให้เกิดความสามัคคี ในการอยู่ร่วมกัน เกิดแนวร่วมในการทำทาน การรักษาศีล และเจริญภาวนา เพื่อสั่งสมบุญ และกำจัดทุกข์จากอำนาจกิเลสอย่างเป็นทีมนั่นเอง ๔. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาเดียวในโลกที่สอนวิธีกำจัดทุกข์ ตราบใดที่ยังไม่หมดสิ้นกิเลส มนุษย์ทุกชาติ ทุกศาสนา ทุกเผ่าพันธุ์ ก็จะต้องเวียน ว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารกันต่อไปอย่างไม่รู้จบรู้สิ้น ยิ่งเวียนว่ายตายเกิดนานเท่าใดยิ่ง ทุกข์มากเท่านั้น ประจำชีวิตทั้ง ครั้นเมื่อเราถือกำเนิดขึ้นในภพชาติใหม่ สิ่งที่ต้องเผชิญกันใหม่ ก็คือปัญหาทุกข์ ๓ ประเภท คือ ทุกข์จากการดำรงชีพ ทุกข์จากการอยู่ร่วมกัน และทุกข์ จากอำนาจกิเลส นอกจากนี้ก็ต้องแสวงหาความรู้พื้นฐานในการดำเนินชีวิตอีก ๓ ประการ เพื่อรับมือกับความทุกข์ทั้ง ๓ ประเภทดังกล่าวแล้ว คือ ความรู้พื้นฐานเพื่อสุขภาพ ความรู้ พื้นฐานเพื่อการทำมาหากิน ความรู้พื้นฐานเพื่อการพัฒนาจิตใจ จากนั้นสิ่งที่ตามมาก็คือ ความแก่ ความเจ็บ และจบลงด้วยความตาย ก่อนจะเริ่มด้วยการเกิดใหม่อีกครั้ง วนเวียน กันอยู่แบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า หลังจากละโลกไปแล้ว ความรู้ที่สะสมไว้จากการต่อสู้กับความทุกข์มาตลอดชีวิต ไม่ว่าจะศึกษาค้นคว้ามามากเท่าใดก็ต้องทิ้งไปและลืมไปจนหมดสิ้น ครั้นเมื่อไปเกิดใน ด
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More