ข้อความต้นฉบับในหน้า
กล่าวอ้างหรือไม่”
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปฏิเสธที่จะตอบคำถามนั้น แต่ได้ตรัสบอกให้สุภัททปริพาชก
ตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์ ดังนี้
“สุภัททะ ในธรรมวินัยที่ไม่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมไม่มีสมณะที่ ๑ (พระโสดาบัน)
ย่อมไม่มีสมณะที่ ๒ (พระสกิทาคามี) ย่อมไม่มีสมณะที่ ๓ (พระอนาคามี) ย่อมไม่มีสมณะที่
๔ (พระอรหันต์)
ในธรรมวินัยที่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมมีสมณะที่ ๑ (พระโสดาบัน) ย่อมมีสมณะที่
๒ (พระสกทาคามี) ย่อมมีสมณะที่ ๓ (พระอนาคามี) ย่อมมีสมณะที่ ๔ (พระอรหันต์)
สุภัททะ ในธรรมวินัยนี้มีอริยมรรคมีองค์ ๘ สมณะที่ ๑ (พระโสดาบัน) มีอยู่ใน
ธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ (พระสกิทาคามี) มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๓
(พระอนาคามี) มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๔ (พระอรหันต์) ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้
เท่านั้น ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง
สุภัททะ ถ้าภิกษุเหล่านี้เป็นอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
จากพระธรรมเทศนาที่ตรัสแสดงแก่สุภัททปริพาชกนี้ ย่อมชี้ชัดว่า มีแต่คำสอนใน
พระพุทธศาสนาเท่านั้น ที่สอนเรื่องการกำจัดทุกข์กำจัดกิเลสให้สิ้นไปด้วยการปฏิบัติ
อริยมรรคมีองค์ - หลังจากได้รับคำตอบที่รอคอยมาตลอดชีวิตแล้ว สุภัททปริพาชกก็
ขอบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ทุ่มชีวิตบำเพ็ญภาวนาปฏิบัติอริยมรรคมีองค์
ไม่นานนักก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ซึ่งเป็นการยืนยันว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ คือวิธี
ปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ของบุคคลทั้งปวง ไม่ว่าจะเคยนับถือลัทธิศาสนาใดมาก่อนก็ตาม
ถ้าทุ่มเทปฏิบัติตามอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันแล้ว ก็จะสามารถบรรลุมรรคผลนิพพานถึง
ความสิ้นทุกข์สิ้นกิเลสดุจเดียวกับพระบรมศาสดาได้แน่นอน
ดังนั้น การที่พวกเรามาบวชเป็นพระภิกษุในคราวนี้ ได้กล่าวคำปฏิญาณต่อหน้า
พระอุปัชฌาย์ว่าขอออกบวชเพื่อความสิ้นทุกข์สิ้นกิเลสนั้น ก็พึงรู้คุณค่ามหาศาลของคำสอน
ในพระพุทธศาสนาที่มีต่อโลกทุกยุคทุกสมัย และใช้โอกาสอันมีค่าที่ได้มาบวชอยู่ใต้ร่ม
กาสาวพัสตร์ เป็นพุทธบุตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันนี้ หมั่นฝึกตน ทนหิว บำเพ็ญ
ตบะ ทุ่มเทชีวิตจิตใจให้แก่การเจริญภาวนา ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างอุทิศชีวิตเป็น
เดิมพัน ตามรอยพระบรมศาสดาให้เต็มที่ ไม่นานนักก็จะได้รู้แจ้งในธรรมที่พระองค์ตรัสรู้
อย่างแน่นอน เมื่อถึงเวลานั้น โลกก็จะพลันสว่างไสวไปกับการเข้าถึงธรรมของเราด้วย
ความสับสนวุ่นวายด้วยทุกข์จากการดำรงชีพ ทุกข์จากการอยู่ร่วมกัน ทุกข์จากอำนาจกิเลส
ก็จะถึงคราวสงบลง ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
“ภิกษุใดแลยังหนุ่มแน่น ย่อมประกอบขวนขวายในพุทธศาสนา ภิกษุนั้นย่อมทำโลก
นี้ให้สว่างไสว เหมือนดวงจันทร์พ้นจากเมฆฉะนั้น”
2 มหาปรินิพพานสูตร, ที. ม. ๑๐/๒๑๔/๑๖๒ (มจร.)
3 สุมนสามเณรวัตถุ, ขุ. ธ. ๒๕/๓๔๒/๑๕๒ (มจร.)
(อ่านต่อฉบับหน้า)
Ca