ข้อความต้นฉบับในหน้า
๗๘
พระธรรมเทศนา
มองทุกข์
9 ให้เห็นชีวิต
den
ตอนที่ ๘
พระธรรมเทศนา
“ศรีรัฏฐธัมมสูตร-ธรรมประจำสรีระ
๓.๕ ขั้นตอนที่ ๒ ปลูกฝังความรู้พื้นฐานเพื่อเตรียมรับมือกับความทุกข์ทั้ง ๓ ประเภท
ให้แก่คนรุ่นหลัง
ตราบใดที่ยังไม่หมดกิเลส ชีวิตก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไป เมื่อคนรุ่นหลังมา
เกิดใหม่ในสังคมเดียวกับที่เราอยู่ตอนนี้ เราในฐานะผู้เกิดก่อน ก็ต้องมีหน้าที่แนะนำวิธี
รับมือกับความทุกข์ประจำชีวิตทั้ง ๓ ประเภท ให้แก่คนรุ่นหลัง ด้วยการถ่ายทอดความรู้
พื้นฐาน ๓ ประการ ในการดำเนินชีวิตดังนี้
๓
พื้นฐานที่ ๑ ความรู้เรื่องสุขภาพ เพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาทุกข์จากการดำรงชีพใน
แต่ละวัย
ความรู้พื้นฐานแรกที่จะต้องแนะนำก็คือ ความรู้เรื่องสุขภาพ เพื่อเตรียมรับมือกับ
ความทุกข์จากการดำรงชีพในแต่ละวัย ซึ่งร่างกายมีความต้องการในการเติมธาตุ ๔ ไม่
เหมือนกันและไม่เท่ากัน
ยกตัวอย่างเช่น ในวัยเด็ก คนเราต้องการอาหารประเภทโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต
ในปริมาณสูง เพราะร่างกายต้องการใช้ธาตุ ๔ ในการสร้างกล้ามเนื้อให้เจริญเติบโต มาก
กว่าการซ่อมแซมอวัยวะส่วนที่สึกหรอ
แต่ในวัยผู้ใหญ่กลับตรงกันข้าม คือต้องการอาหารประเภทโปรตีนกับคาร์โบไฮเดรต
น้อยลง แต่ต้องการอาหารประเภทพืชผักมากขึ้น เพราะร่างกายต้องการใช้ธาตุ ๔ ในการ
สร้างกล้ามเนื้อน้อยลง แต่ต้องการธาตุอาหารที่ใช้ซ่อมแซมและฟื้นฟูอวัยวะต่างๆ ที่สึกหรอ
เป็นต้น
นี่ก็เป็นตัวอย่างที่ยกมาเพื่อให้เห็นว่า เมื่อวัยเปลี่ยนไป จากเด็กไปสู่วัยรุ่น จากวัยรุ่น
ไปสู่วัยผู้ใหญ่ จากวัยผู้ใหญ่ไปสู่วัยชราร่างกายของคนเราก็มีความต้องการธาตุอาหารเปลี่ยน
ไปตามวัยด้วย การศึกษาหาความรู้ด้านสุขอนามัยที่พอเหมาะพอสมกับแต่ละวัย จึงเป็นสิ่ง
ที่ต้องเตรียมไว้รับมือกับความทุกข์ประจำสรีระ
ochrym