การมองคุณค่าของชีวิตในพระพุทธศาสนา วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มกราคม พ.ศ.2550 หน้า 39
หน้าที่ 39 / 84

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจแนวคิดเกี่ยวกับการมองคุณค่าของชีวิตเมื่อเข้าสู่ปีใหม่ตามพระพุทธศาสนา โดยแบ่งประเภทรูปแบบการแก่เป็น ๒ ประเภท คือ การแก่แดดแก่ลม และการแก่บุญแก่บารมี โดยเน้นความสำคัญของการทำความดีและการมีสติในการดำเนินชีวิต เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต พร้อมมีการสอนให้ไม่ประมาทในการใช้ชีวิต และการตรวจสอบตนเองเพื่อการพัฒนาที่ดีขึ้น รวมถึงการคิดถึงอดีตและอนาคตเพื่อเรียนรู้แต่ไม่ต้องทำให้เกิดทุกข์ นำเสนอแนวทางสู่ความสุขและบารมีที่แท้จริง

หัวข้อประเด็น

-มุมมองของพระพุทธศาสนา
-ประเภทของความแก่
-การทำความดีและบารมี
-สติและการไม่ประมาท
-การตรวจสอบตัวเอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แก่ขึ้นเหมือนกันแต่คุณค่าไม่เท่ากัน แต่ถ้าเรามองวันขึ้นปีใหม่ในแบบที่ พระพุทธศาสนามอง ก็ต้องบอกว่าทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ รวมทั้งผู้เฒ่า ทุกคนล้วนก้าวเข้าสู่ความตายด้วยกัน ทั้งนั้น หลวงปู่วัดปากน้ำท่านเคยพูดถึงความแก่ ของคนว่า แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ประเภทที่ แก่แดดแก่ลม คือ ผู้ที่ปล่อย ๑ วันเวลาผ่านไปแต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปี โดย ไม่ได้ทำความดีเป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมา อยากจะทำ อะไรก็ทำตามแต่อารมณ์จะบงการ ใช้ชีวิตไปวันๆ ประเภทนี้ต้องบอกว่า แก่ตายเปล่า ประเภทที่ ๒ แก่บุญแก่บารมี คือ ผู้ที่รู้ว่า ห้ามวัน ห้ามเวลาไม่ได้ แต่ห้ามความชั่วได้ เพราะ ฉะนั้น ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา ความชั่วไม่ว่ากี่รูปแบบ ทั้งความชั่วหยาบ เช่น อบายมุขต่างๆ หรือความชั่ว ละเอียด เช่น ความคิดที่ไม่ดีไม่งามก็พยายาม ห้ามใจตัวเองไม่ให้คิด คำพูดที่จะทำให้ผู้อื่น สะเทือนใจก็ห้ามปากตัวเองไม่ให้พูด เบรคตัวเอง ตัวโก่ง ไม่ยอมแตะต้อง ไม่ยอมเฉียดเข้าไปใกล้ ส่วนการทำความดีนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม หากมีโอกาสเป็นต้องทำกันอย่างเต็มที่เต็มกำลัง ใช้ชีวิตอย่างนี้ วันคืนที่ล่วงเลยผ่านไปก็เปลี่ยนเป็น บุญเป็นบารมีติดตัวข้ามภพข้ามชาติ อดีตและอนาคตมีประโยชน์ ถ้ารู้จักจับแง่คิด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้ชาวพุทธ ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต โดยให้คาถาเอาไว้ ให้หมั่นสวดทบทวนตัวเอง ๒ บท บทแรกใช้สำหรับเตือนคนที่ค่อนข้าง เกียจคร้าน ชอบผัดวันประกันพรุ่ง คือ ให้หมั่น ถามตัวเองทุกวันทุกคืนว่า “วันคืนล่วงไปล่วงไป บัดนี้เราทำอะไรอยู่” พอถามตัวเองอย่างนี้เป็น ประจำแล้ว ผู้มีปัญญาจะหายประมาททันที และ จะมีกำลังใจที่จะทำความดีต่อไป คาถาบทที่ ๒ “สิ่งที่แล้วก็แล้วไป เรียกกลับ คืนมาไม่ได้ สิ่งที่ยังมาไม่ถึงก็ไม่แน่ว่าจะมา เพราะฉะนั้น ผู้ที่ไม่ประมาทสมควรที่จะทำปัจจุบัน นี้ให้ดีที่สุด” ความจริงแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ถึง กับทรงห้ามไม่ให้คิดถึงอดีตและอนาคต เพราะทั้ง อดีตและอนาคตล้วนมีประโยชน์ถ้ารู้จักจับแง่คิดเป็น ในเรื่องของอดีตนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงสอน และทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เช่น การระลึกชาติย้อนหลัง กลับไปเป็นอสงไขย เป็นกัป เพื่อนำมาเป็นครูสอน ตัวเองว่า ต่อไปข้างหน้าเราควรจะต้องปรับปรุงแก้ไข ระมัดระวังตัวเองอย่างไรบ้าง นึกถึงอดีตอย่างนี้ แล้วจะมีสติที่จะละชั่ว ทำความดี กลั่นใจให้ผ่องใส ยิ่งๆ ขึ้นไป เมื่อเราทบทวนอดีตแล้วพบข้อบกพร่อง ก็ให้รีบแก้ไข สิ่งที่ดีอยู่แล้วก็ปรับปรุงพัฒนาให้อยู่ ในขั้นดียิ่งๆ ขึ้นไปอีก ส่วนเรื่องของอนาคต หากจะทำงานหรือ จะดำเนินชีวิตอย่างผู้ไม่ประมาท จำเป็นจะต้องมี การวางแผนอนาคตอย่างมีสติ กำหนดทิศทางของ ชีวิตให้ดี แต่อย่าให้ถึงกับคิดฟุ้งซ่านทางบวก มากไป จะกลายเป็นคนฝันหวานเกินเหตุ เรียกว่า สร้างวิมานในอากาศ ส่วนการคิดฟุ้งซ่านในทางลบ มากไปก็ไม่ดีอีกเช่นกัน ทำให้ใจขุ่นมัว เศร้าสร้อย หงอยเหงา กลายเป็นทุกข์กินเปล่า ตรวจสอบตัวเราเองด้วยหลักธรรม การสารวจตรวจสอบตนเองตลอดระยะเวลา หนึ่งปีที่ผ่านมา ว่าเรามีข้อบกพร่องหรือข้อดีอะไร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More