ข้อความต้นฉบับในหน้า
ค
บ้างนั้น ให้ใช้สัปปุริสธรรม ๓ ประการ เป็นหัวข้อ
ธรรมหลักในการประเมินตัวเอง ซึ่งได้แก่
Q).
- ความเป็นผู้รู้จักเหตุ คือ ต้องถามตัวเอง
ว่า ก่อนที่จะลงมือทำสิ่งใดทุกครั้ง เราเป็นคน
มีเหตุมีผลเพียงพอ คิดหน้าคิดหลังให้รอบคอบ
ก่อนแล้วจึงค่อยลงมือทำหรือไม่ หรือจะทำอะไรก็
เอาแต่ใจตัวเอง เวลาทำงานอยากจะทำอะไรก็ทำ
โครมๆ ลงไป ยอมให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล คน
ที่เขามีเหตุมีผลนั้น เมื่อจะลงมือทำอะไรก็ตาม
เขาต้องมองไปถึงอนาคตว่า ผลที่ออกมาจะเป็น
อย่างไร
๒. ความเป็นผู้รู้จักผล คือ เมื่อเห็นอะไร
ปรากฏอยู่ต่อหน้า จะเป็นผลดีหรือผลเสียก็ตาม
สามารถที่จะตรวจสอบคิดเชื่อมโยงไปถึงต้นตอได้ว่า
๓.
ผลที่ออกมาเป็นอย่างนี้นั้น เกิดมาจากสาเหตุอะไร
1. ความเป็นผู้รู้จักตน คือ ตรวจสอบ
ความเป็นผู้รู้จักตัวเองของเราว่า โดยคุณสมบัติ
ของเรานั้น เราเป็นใคร อยู่ในฐานะใดในบ้าน
ในเมืองนี้ อยู่ในครอบครัว มีหน้าที่ มีตำแหน่ง
อะไรในบ้าน มีฐานะอะไรในที่ทำงาน เมื่อมาถึง
วัดแล้ว ก็ต้องถามตัวเองอีกว่า เราอยู่ในฐานะใด
มีหน้าที่อะไรบ้างในวัด หมั่นถามตัวเองบ่อย ๆ
แล้วเราจะมองตัวเองออกและจะได้รู้ว่า
หน้าที่อย่างเหมาะสมแล้วหรือยัง
เราทำ
๔. ความเป็นผู้รู้จักประมาณ คือ ทุกครั้ง
ที่ลงมือทำงาน เราเป็นผู้รู้จักประมาณทุกครั้งไหม
หากเรามีกำลังความรู้ความสามารถมาก เราได้
ช่วยเต็มที่เต็มกำลังแล้วหรือยัง หรือหากมีความรู้
ความสามารถน้อย แต่ได้ทุ่มเทให้ทางวัดมาก จน
บางครั้งเกิดติดๆ ขัดๆ มีปัญหากับทางครอบครัว
หรือไม่ นี้ก็ต้องย้อนกลับมาตรวจสอบดูว่า เรา
ละเลยหน้าที่บางอย่างทางบ้านไปหรือไม่ สำรวจ
ตัวเองดูให้ดี
๕. ความเป็นผู้รู้จักกาล คือ เราแบ่งเวลาได้
เหมาะสมแล้วหรือยัง ทั้งเวลาปฏิบัติธรรม เวลา
ทำงาน เวลาที่ต้องแบ่งให้ครอบครัว เรื่องแบ่งเวลา
นี้สำคัญมาก เพราะเรามีเวลาแค่วันละ ๒๔ ชั่วโมง
เท่ากัน ถ้ารู้จักแบ่งเวลาเป็น วันหนึ่งๆ จะทำงาน
ได้มาก การที่คนเรามีความเจริญก้าวหน้าในชีวิต
ไม่เท่ากัน ก็มาจากเรื่องการแบ่งเวลานี่เอง
5. ความเป็นผู้รู้จักชุมชน คือ การรู้จักสังคม
ที่อยู่แวดล้อมเรา ทั้งรอบๆ บ้าน สังคมญาติพี่น้อง
ในครอบครัวของเราเอง สังคมในที่ทำงาน แล้ว
เวลามาวัดสังคมของวัดเป็นอย่างไร เราได้วางตัว
เหมาะสมแล้วหรือยัง
๓. ความเป็นผู้รู้จักบุคคล คือ การรู้จักบุคคล
รอบข้างที่เราต้องเกี่ยวข้องเป็นประจำ เพื่อที่จะได้
วางตัวให้เหมาะกับฐานะที่เราเป็นอยู่
สำหรับในเรื่องของความเป็นผู้รู้จักบุคคลนั้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้มองบุคคลรอบ
ตัวเรา โดยแบ่งออกมาเป็น 5 ทิศ เพื่อให้เรา
ทำหน้าที่ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ได้แก่
๑) ทิศเบื้องบน หมายถึง สมณชีพราหมณ์
ได้แก่ หลวงปู่ หลวงพ่อ พระสงฆ์ที่เราไปศึกษา
ธรรมะจากท่าน
๒) ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ คุณพ่อและคุณแม่
ของเรา เมื่อก่อนท่านยังแข็งแรงอยู่ ยังดูแลตัวเองได้
แต่บัดนี้ท่านแก่มากแล้ว ร่างกายก็เสื่อมลงไปตามวัย
และอาจเริ่มมีโรคน้อยใจบ้าง เราควรทำความ
เข้าใจและเอาใจใส่ในแต่ละรายละเอียดของท่านให้ดี
๓) ทิศเบื้องหลัง คือ สามีหรือภรรยา คนเรา
พออายุมาก วันเวลาเปลี่ยนไป สภาพแวดล้อมก็
เปลี่ยนไป จิตใจก็มีสิทธิ์เปลี่ยนไปด้วย แต่ในฐานะ
ที่มีชีวิตอยู่แบบเป็นครอบครัว ก็ต้องหาทางประคับ
ประคองกันไปด้วยกันให้ได้ การอบรมลูกให้ดีเป็น
วิธีหนึ่งที่ทำให้บ้านเย็น ฝ่ายชายก็ต้องรู้จักให้