ข้อความต้นฉบับในหน้า
ปกิณกธรรม
เรื่อง : พระมหาเสถียร สุวณฺณฐิโต ป.ธ. ๙ / พระมหาวิริยะ ธมฺมสารี ป.ธ. ๙ / ภาพประกอบ : กองพุทธศิลป์
outrym
มหาทาน
สนั่นโลกธาตุ
“เราสละกัณหาชาลีและพระนางมัทรีเป็นทาน บุตรทั้งสองของเรา เราไม่ได้เกลียด
พระนางมัทรี เราก็ไม่เกลียด แต่สัพพัญญุตญาณเป็นที่รักของเรายิ่งกว่า เพราะฉะนั้น
เราจึงได้ให้บุตรและภรรยาอันเป็นที่รักของเราไป
มโนปณิธานของพระบรมโพธิสัตว์นั้นแตกต่าง
จากคนทั่วไป ท่านมีจิตใจที่ยิ่งใหญ่ เสียสละเกิน
คาดหมายของบุคคลทั่วไป เพราะท่านมุ่งมั่นจะนำ
พาหมู่สัตว์ให้รอดพ้นจากภัยในสังสารวัฏ กว่าจะได้
ตรัสรู้ธรรมต้องบำเพ็ญปัญจมหาบริจาค คือ บริจาค
อวัยวะ ทรัพย์ บุตร ภรรยา และชีวิต ซึ่งผู้ไม่รู้
บางคนกลับวิจารณ์ว่า การบริจาคบุตรภรรยาเป็น
ทาน ผิดหลักการให้ทาน เพราะเป็นการละเมิดสิทธิ
ของคนอื่น ดังนั้น บทความนี้จึงอยากทำความ
กระจ่างให้เกิดขึ้น เพื่อให้เห็นปณิธานอันยิ่งใหญ่ของ
ผู้มุ่งสู่โพธิญาณ ซึ่งจะก่อให้เกิดพลังศรัทธาใน
พุทธคุณอย่างไม่มีประมาณ ดังที่พระเจ้ามิลินท์ได้
ถามพระนาคเสนเถระว่า
“ท่านนาคเสน การที่พระเวสสันดรได้ให้บุตร
และภรรยาเป็นทานนั้น ชื่อว่าให้ด้วยความยินยอม
ของบุตรภรรยาหรือไม่” “ขอถวายพระพร สำหรับ
ภรรยายินยอม แต่บุตรนั้น เนื่องจากยังเป็นเด็กอยู่
จึงร้องไห้เพราะความคิดถึงบิดามารดา ไม่อยาก
จากไปเป็นธรรมดา แต่ก็ยินดีในการบริจาคทานของ
พระบิดา” คำว่า ยินยอม หมายความว่า กัณหาและ
ชาลีที่แอบหลบซ่อนอยู่ในกอบัวกลางหนองน้ำ
ครั้นได้ฟังปณิธานอันยิ่งใหญ่ของบิดาที่มุ่งจะนำพา
หมู่สัตว์ไปสู่นิพพาน เห็นว่าตนจะเป็นสะพานบุญ
มีส่วนในการทำให้ปณิธานของพระบิดาสำเร็จ จึง
ตัดสินใจเด็ดเดี่ยว เดินขึ้นจากหนองน้ำเพื่อเป็น
ปุตตทานของบิดา แสดงว่ากัณหาและชาลีไม่ได้
ถูกบังคับให้ไปเป็นทาสของคนอื่น แต่ไปด้วยความ
เต็มใจ ไม่ใช่ถูกบังคับจิตใจ
น่าทุกข์ให้คนอื่น จะได้สุขหรือไม่
พระเจ้ามิลินท์ยังไม่คลายความสงสัย ตรัสถาม
ต่อว่า “คนที่ทำผู้อื่นให้เป็นทุกข์ด้วยการให้ทาน ทาน
ของเขาจะให้ผลเป็นสุข จะทำให้ไปเกิดในสวรรค์ได้
มีอยู่หรือ” “มีอยู่ มหาบพิตร” “ขอพระคุณเจ้าจง