การต่อสู้กับความทุกข์ผ่านความเป็นทีม วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มีนาคม พ.ศ.2555 หน้า 85
หน้าที่ 85 / 132

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจแนวคิดการสร้างความดีและการต่อสู้กับทุกข์ในชีวิตโดยการทำงานร่วมกัน อธิบายขั้นตอนการปรับปรุงความคิด การปลูกฝังความรู้พื้นฐาน และการสร้างชุมชนที่มีจริยธรรม โดยพระพุทธเจ้าสอนให้คนที่ต้องการหลุดพ้นจากทุกข์ควรมีความรู้ทางจิตวิญญาณร่วมกัน ซึ่งจะช่วยให้โลกมีสันติภาพมากขึ้นด้วยการลดละอำนาจของกิเลส.

หัวข้อประเด็น

- การทำความดีแบบเป็นทีม
- ปรับปรุงความคิดเพื่อสร้างความสุข
- การลดความทุกข์ในสังคม
- พระพุทธเจ้ากับการสร้างศีลธรรม
- เส้นทางสู่ความสุขและการสิ้นทุกข์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ด้วยแนวคิดนี้ พระองค์จึงได้ฝึกความเป็นครู ผ่านการทำงานชักชวนคนทำความดี โดยเริ่มต้นจากการชักชวนคนรอบ ๆ ตัว ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ให้มาร่วมกันสู้กับ ความทุกข์ต่าง ๆ นานาในชีวิต สู้กับการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย ด้วยมุ่งเน้นที่การ สร้างความดีแบบเป็นทีม คือทำทานเป็นทีม รักษาศีลเป็นทีม เจริญภาวนาเป็นทีม เพื่อให้ มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การทำความดี ละเว้นความชั่ว และกลั่นใจให้ผ่องใสอย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต ๓.๓ - วิธีการต่อสู้กับความทุกข์อย่างเป็นทีม ๓ ขั้นตอน จากมโนปณิธานที่เป็นจุดเริ่มต้นในชาติแรก สู่แนวคิดการทำงานที่ไม่ยอมแพ้กับ ความทุกข์ ไม่ทอดทิ้งสังคม สู่วิธีการต่อสู้กับความทุกข์ทั้ง ๓ ประเภท อย่างเป็นทีม โดย แบ่งการทำงานเป็น “๓ ขั้นตอน” คือ ๑. ปรับปรุงความคิดของตนให้เป็นสัมมาทิฐิเบื้องต้น ๑๐ ประการ ๒. ปลูกฝังความรู้พื้นฐานเพื่อเตรียมรับมือกับความทุกข์ทั้ง ๓ ประเภท ให้แก่คนรุ่นหลัง ๓. ชักชวนหมู่ญาติสนิทมิตรสหายให้ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ พร้อมด้วยการทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนาร่วมกันอยู่เป็นประจำ ด้วยวิธีการทั้ง ๓ ขั้นตอนนี้ ทำให้พระพุทธองค์ทรงสามารถรับมือกับปัญหาทุกข์จาก การดำรงชีพ ปัญหาทุกข์จากการอยู่ร่วมกัน และปัญหาทุกข์จากอำนาจกิเลสอย่างเป็นทีมได้ จึงทรงสามารถรื้อขนสรรพสัตว์ไปสู่นิพพานได้ด้วยการกำจัดกิเลส ที่เกิดจากภายในและที่ มาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยนอกจากไม่ก่อ ความทุกข์ให้กับตัวเองและส่วนรวมเพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังบรรเทาทุกข์ให้ลดลงด้วย โลกจึงเย็น ลงด้วยศีลธรรม สำหรับรายละเอียดแต่ละขั้นตอนนั้น มีดังนี้ ๓.๔ ขั้นตอนที่ ๑ ปรับปรุงความคิดของตนให้เป็นสัมมาทิฐิเบื้องต้น สัมมาทิฐิ แปลว่า ความเข้าใจถูก ๑๐ ประการ สัมมาทิฐิเบื้องต้น หมายถึง ความเข้าใจถูกในเรื่องโลกและชีวิตอย่างถูกต้องตามความ เป็นจริง เพื่อความอยู่เป็นสุขในชาตินี้ เพื่อความอยู่เป็นสุขในชาติหน้า และเพื่อความสิ้น ทุกข์อย่างถาวร สัมมาทิฐิเบื้องต้นมีทั้งหมด ๑๐ ประการ แต่ละข้อเป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดความเข้าใจ ถูกในการกำจัดทุกข์ทั้ง ๓ ประเภท อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง เพราะการแก้ปัญหา ใด ๆ ก็ตาม ถ้าแก้ไขได้ถูกทาง ปัญหาก็จะลดลง แต่ถ้าแก้ไขผิดทาง ปัญหาก็จะบานปลาย ต่อไปจนเกิดความเดือดร้อนวุ่นวายไม่รู้จบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้ระยะเวลาตั้งแต่ชาติแรกที่ตั้งมโนปณิธานจนกระทั่งถึง ชาติสุดท้ายที่กำจัดทุกข์ทั้งสามได้หมดสิ้น ซึ่งใช้ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้ายาวนานถึง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More