การลดปัญหาความเห็นแก่ตัวและการเพิ่มพูนความมีน้ำใจในสังคม วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มีนาคม พ.ศ.2555 หน้า 87
หน้าที่ 87 / 132

สรุปเนื้อหา

การช่วยลดปัญหาความเห็นแก่ตัวและเพิ่มความมีน้ำใจในสังคมเป็นเรื่องสำคัญ โดยการสงเคราะห์สามารถช่วยผู้ตกทุกข์ได้ยากให้มีโอกาสเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้ ลดปัญหามิจฉาชีพ และส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานดี ๆ สำหรับสังคม การยกย่องคนดีจะช่วยเพิ่มกำลังใจในการทำความดีและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงกฎแห่งกรรม ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้และเกี่ยวข้องกับผลของการกระทำทั้งดีและชั่ว ผลกรรมเป็นสิ่งที่แน่นอนและไม่มีทางสูญเปล่า ไม่ว่ามนุษย์จะพยายามหลบหนีก็ตาม สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าการทำความดีและการสังคมมีความสำคัญต่อความเจริญรุ่งเรืองของสังคม

หัวข้อประเด็น

-การสงเคราะห์
-การยกย่องคนดี
-กฎแห่งกรรม
-ความเห็นแก่ตัว
-ความมีน้ำใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การช่วยลดปัญหาความเห็นแก่ตัวให้น้อยลง และเพิ่มพูนความมีน้ำใจของผู้คนในสังคมให้ มากขึ้น การสงเคราะห์ทำให้ผู้คนที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก หรือคนที่สิ้นเนื้อประดาตัว มีต้นทุน มีโอกาส และมีเวลาได้ลืมตาอ้าปากสร้างตัวสร้างฐานะขึ้นมาใหม่ โดยไม่ต้องหันเหชีวิต ไปเป็นโจรผู้ร้ายหรือทำการค้าขายสิ่งผิดกฎหมาย เป็นการช่วยลดปัญหามิจฉาชีพในสังคม ให้น้อยลง และเพิ่มพูนเครือข่ายคนดีในสังคมให้มากขึ้น การยกย่องคนดีทำให้คนดีมีกำลังใจที่จะสร้างผลงานดี ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สังคม อย่างต่อเนื่อง ไม่หวาดเกรงว่าจะมีคนมาใส่ร้ายป้ายสี หรือหาทางทำลายผลประโยชน์ด้วย วิธีการต่าง ๆ เพราะความอิจฉาริษยา การยกย่องคนที่เป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และคุณภาพการศึกษาให้กับสังคม ตลอดจนการมีสวัสดิการชีวิตที่ดี และมีความฉับไวใน การแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดหมาย ยิ่งมีคนดีมากเท่าใด ก็จะยิ่งทำให้ สังคมมีความเข้มแข็งและเจริญก้าวหน้ามากขึ้นเท่านั้น ที่สำคัญที่สุดก็คือ การแบ่งปัน การสงเคราะห์ การยกย่องคนดี เป็นความดีที่กระทำ แล้วไม่สูญเปล่าอย่างแน่นอน ทั้งนี้เพราะว่า โลกนี้มีกฎแห่งกรรมอยู่จริง กฎประจำโลกนั้น แบ่งได้เป็น ๒ ประเภท ประเภทแรก คือ กฎที่มนุษย์ตั้งขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่ กฎหมาย กฎจารีต ประเพณี ประเภทที่สอง คือ กฎธรรมชาติ มีหลักเกณฑ์ตายตัว ได้แก่ กฎแห่งกรรม และ กฎไตรลักษณ์ กฏประเภทแรกอาจปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขได้ตามความต้องการของมนุษย์ ในแต่ละยุคสมัย ซึ่งยังหาความแน่นอนไม่ได้ อาจเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้ ขึ้นอยู่กับ ความคิดเห็นของมนุษย์ในยุคนั้น ๆ แต่กฎประเภทที่สองนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตามความต้องการของมนุษย์คนใดทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎแห่งกรรมนั้น เป็นกฎเหล็ก ที่มีเงื่อนไขระบุไว้ชัดเจนว่า บุคคลทำกรรมใดไว้ ไม่ว่าดีหรือชั่วก็ตาม ตนจะต้องเป็นผู้รับ ผลของกรรมนั้น บุคคลอื่นไม่สามารถรับผลกรรมแทนได้ ไม่ว่าเขาจะเป็นพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด หรือญาติพี่น้องร่วมสายโลหิตของตนก็ตาม ด้วยเงื่อนไขของกฎแห่งกรรมนี้เอง การทำความดีทั้งหลายไม่ว่ามากหรือน้อย ไม่ว่า เล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าทำคนเดียวหรือทำเป็นกลุ่ม ไม่ว่าจะมีใครรู้หรือไม่มีใครรู้ก็ตาม ผลของ กรรมดีนั้นไม่มีทางสูญเปล่า จะต้องตามมาส่งผลอย่างแน่นอน ส่วนการทำความชั่วก็เช่นกัน ไม่ว่ามากหรือน้อย ผลของกรรมชั่วก็จะไม่สูญเปล่า จะต้องตามมาส่งผลอย่างแน่นอน ไม่ว่าผู้ทำความชั่วนั้น จะหนีไปบนฟ้า หนีไปในทะเล หนี ไปในอวกาศ หนีไปใต้พิภพ ผลของกรรมชั่วนั้นจะต้องตามไปส่งผลอย่างแน่นอน Ge
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More