ข้อความต้นฉบับในหน้า
แสดงเหตุการณ์เปรียบเทียบด้วยเถิด” “ขอถวาย
พระพร ถ้ามีสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีศีล เป็นโรค
มีร่างกายอัมพาตไปอีกหนึ่ง หรือเป็นโรคง่อยเปลี้ย
เดินไม่ได้ มีผู้อยากได้บุญคนหนึ่งอุ้มท่านขึ้นรถ แล้ว
นำไปส่งโรงพยาบาล ในขณะที่นำไปส่งนั้น คนป่วย
ได้รับความบอบช้ำจนไม่อยากจะไป คนอุ้มจะได้บุญ
และได้ไปเกิดในสวรรค์หรือไม่” “ได้สิ พระคุณเจ้า”
“ขอถวายพระพร ถ้าเช่นนั้นพระเวสสันดรทำให้
พระลูกเจ้าทั้งสองต้องเป็นทุกข์ แต่ย่อมจะได้เสวยสุข
แน่นอน ขอมหาบพิตรจงทรงสดับอีกเรื่องหนึ่งให้
ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ หากพระราชาทรงให้เก็บภาษีโดย
ชอบธรรม และนำมาบริจาคทานตามพระราชอำนาจ
ที่มีอยู่ พระราชานั้นจะได้ความสุขอันเกิดจากการ
ให้ทานนั้นบ้างหรือไม่” “ได้สิ พระคุณเจ้า แต่ถึง
กระนั้นโยมรู้สึกว่าทานที่พระเวสสันดรทรงทำเป็น
อติทาน ซึ่งหมายถึง เป็นสิ่งที่ทำเกินเลย ทำเกินดี
เป็นสิ่งที่น่าตำหนิ เปรียบเหมือนเกวียนที่บรรทุก
สิ่งของหนักเกินไป เพลาเกวียนก็หัก เรือที่บรรทุก
หนักเกินไปก็จม กินอาหารมากเกินไปก็ไม่ย่อย พูด
มากเกินไปก็พลาด ท่านนาคเสน พระเวสสันดรให้
ทานเกินไป ทำเกินความพอดี ทานนั้นก็ไม่น่าจะมี
ผล”
พระเถระวิสัชนาว่า “ขอถวายพระพร อติทาน
คือ ทานอันยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เป็นการให้เกินตัว เป็นทาน
ที่ผู้รู้สรรเสริญ นักมวยปล้ำทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงเพราะ
มีกำลังมากกว่า แผ่นดินสามารถรองรับสรรพสิ่งได้
เพราะแผ่นดินยิ่งใหญ่กว่า มหาสมุทรไม่รู้จักเต็ม
เพราะกว้างใหญ่กว่ามหานที่ทุกสายอากาศไ
อากาศไม่มีที่สุด
เพราะอากาศกว้างใหญ่ยิ่ง มนุษย์และเทวดาย่อม
หมอบกราบพระภิกษุเพราะมีศีลยิ่งกว่า พระพุทธเจ้า
ไม่มีผู้เปรียบเทียบ เพราะเป็นผู้วิเศษยิ่งกว่า ดังนั้น
มหาทานของพระเวสสันดรจึงนับเป็นอนิทาน เมื่อ
เทียบกับผลทานที่ยิ่งใหญ่ไพศาล ไม่ใช่การให้ที่
เกินตัวเลย อติทานนี้ได้ส่งผลให้ท่านได้บรรลุ
P