ข้อความต้นฉบับในหน้า
๑๐๖
บาลีน่ารู้
เรื่อง : ธรรมรักษ์
ochrym
สัมม
สมม
สม
สัม
สัมมาอะระหัง
ตอน : บริกรรมภาวนาเพื่อการเข้าถึงพระธรรมกาย
คำว่า “สัมมาอะระหัง” เป็นภาษาบาลี มีศัพท์ควบคู่กันอยู่ ๒ ศัพท์
คือ “สัมมา” + “อะระหัง”
“สัมมา” เป็นศัพท์ที่มีความหมายสูงส่ง แปลว่า “ชอบ หรือ ถูกต้อง”
ในพระพุทธคุณ ๙ บท ท่านเอาศัพท์นี้เข้าคู่กับ “สัมพุทโธ” เป็นสัมมาสัม
พุทโธ เป็นบทแสดงพระคุณของพระพุทธเจ้า แปลว่า ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
นอกจากใช้ในบทพระพุทธคุณแล้ว ยังมีใช้ในอริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วย
โดยมีคำว่า “สัมมา” นำหน้าองค์มรรคอยู่ทุกข้อ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ
ส่วนศัพท์ว่า “อะระหัง” เป็นพระพุทธคุณบทต้น แปลว่า พระพุทธองค์
ทรงเป็นพระอรหันต์ผู้ห่างไกลจากกิเลส เมื่อเข้าคู่กันเป็น “สัมมาอะระหัง”
ก็แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์โดยชอบ คือ ถูกต้อง ไม่ผิด
หลวงปู่วัดปากน้ำท่านใช้บทบริกรรม “สัมมาอะระหัง” เพราะรู้ว่าเป็น
ถ้อยคำสูงส่ง ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นพุทธานุสสติ อีกทั้งเป็นถ้อยคำที่ง่าย ตรง
และลัดที่สุดในการทำใจให้สงบ ให้หยุดนิ่ง จนได้เข้าถึงดวงธรรมภายใน
และนำไปสู่การเข้าถึงพระธรรมกาย ผู้ปรารถนาเข้าถึงธรรมกายก็ควรหมั่น
บริกรรมภาวนา “สัมมาอะระหัง ๆ ๆ ๆ” ตามที่พระเดชพระคุณหลวงปู่
วัดปากน้ำท่านเมตตาสอนเอาไว้ แล้วจะสมปรารถนาถ้วนหน้ากันทุกคน..
สมมาย
ระหัง
ะระหง
อะระหัง
อะระหั
สัม
สัมมาอะระหัง สัมมาอะราง สัม