ข้อความต้นฉบับในหน้า
๘๖
แต่สิ่งที่เรามักสงสัยที่ทำให้เกิดความลังเลใจว่า กฎแห่งกรรมมีจริงหรือไม่ ก็เป็นเพราะ
จังหวะเวลาในการส่งผลของกรรมในอดีต ไม่สอดคล้องกับการกระทำกรรมในปัจจุบัน เช่น
ในขณะที่บางคนกำลังทำความดีอยู่ แต่กรรมชั่วในอดีตตามมาส่งผลก่อน ทำให้ต้องพบ
อุปสรรคความยากลำบากต่าง ๆ ในขณะที่กำลังตั้งใจทำความดี จึงทำให้บางคนเข้าใจผิดว่า
ทำดีได้ชั่ว แล้วก็พาลเลิกทำความดีไป ในขณะเดียวกัน บางคนกำลังทำความชั่วอยู่ แต่
กรรมดีในอดีตตามมาส่งผลพอดี ทำให้ทุกอย่างราบรื่นไม่มีอุปสรรคปัญหาใด ๆ จึงทำให้
ๆ
เข้าใจผิดไปว่า ทำชั่วได้ดี จังหวะเวลาในการส่งผลของกรรมในอดีตนี้เอง ที่ทำให้คนเรา
สับสนและเข้าใจผิด จนขาดความเชื่อมั่นในเรื่องทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
แต่ถ้าเราศึกษาต่อไปก็จะพบว่า แม้ว่าบางครั้งจังหวะเวลาการส่งผลกรรมในอดีต
จะไม่สอดคล้องกับการกระทำกรรมในปัจจุบัน แต่ความดีกับความชั่วที่ทำไว้นั้น ไม่ได้
สาบสูญไปไหน แต่จะไปรวมส่งผลเป็นภาพกรรมนิมิตก่อนตาย ฉายให้เราดูอยู่คนเดียว
ถ้าทำกรรมชั่วไว้มาก ภาพกรรมนิมิตนั้นก็จะฉายให้เราเห็นแต่ความชั่วที่ตัวทำ ส่งผล
ให้ใจเศร้าหมองก่อนตาย มิใช่เพียงเท่านั้น ภาพกรรมนิมิตนั้นยังชักนำให้ดวงวิญญาณ
ของเราไปเกิดในอบายภูมิอันทุกข์ทรมานนานแสนนานอีกด้วย แต่ถ้าทำกรรมดีไว้มาก
ภาพกรรมนิมิตที่ฉายให้เห็นก่อนตาย ก็จะฉายแต่ภาพการทำความดีของเรา ซึ่งจะส่งผลให้
ใจผ่องใสด้วยความปลื้มปีติ ยิ่งกว่านั้นยังจะนำให้ไปเกิดในเทวโลกตามระดับความดีที่เรา
ทําไว้
แท้ที่จริงนั้น ในทันทีที่เราสร้างกรรม ไม่ว่ากรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม กรรมนั้นได้
ถูกบันทึกไว้ในใจเรียบร้อยแล้ว เหลือแต่จังหวะเวลาที่จะส่งผลช้าหรือเร็วเท่านั้น ถ้าเป็น
กรรมดีก็จะส่งผลให้เป็นความสุข ถ้าเป็นกรรมชั่วก็จะส่งผลเป็นความทุกข์ กรรมที่ทำไว้
จึงไม่มีทางสูญหายไปไหนอย่างแน่นอน
ด้วยเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสเตือนว่า ตราบใดที่ผลวิบากกรรมชั่วยังไม่ส่ง
ผล คนพาลย่อมสำคัญว่าการทำบาปมีรสหอมหวานเหมือนน้ำผึ้ง แต่เมื่อใดวิบากกรรมชั่ว
ส่งผล คนพาลจึงได้รู้ว่า การทำความชั่วให้ผลเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
ดังนั้น พระองค์จึงทรงสอนให้เรามีความสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมในอาชีพ และ
สำรวมใจ เพื่อจะได้ไม่ต้องประสบความทุกข์ยากจากการดำเนินชีวิตที่ผิดพลาดในอนาคต
เพราะความไม่รู้ว่ากฎแห่งกรรมมีอยู่จริง ขณะเดียวกันก็ทรงสอนให้รู้จักใช้ชีวิตให้มีความสุข
อยู่ในปัจจุบันชาติด้วยการแบ่งปัน สงเคราะห์ และยกย่องคนดี อันจะเป็นการช่วยลด
ปัญหาทุกข์จากการดำรงชีพและปัญหาทุกข์จากการอยู่ร่วมกันอย่างได้ผลที่รวดเร็วและ
ยั่งยืนในระยะยาวนั่นเอง นี้คือความสำคัญของสัมมาทิฐิ ๔ ข้อแรก ที่เป็นแสงเงินแสงทอง
ของชีวิตที่จะพบความสุขความเจริญในปัจจุบัน
2 อุปปลวัณณาเถรีวัตถุ, ขุ. ธ. ๒๕/๖๙/๕๘ (มจร.)
(อ่านต่อฉบับหน้า)