การทบทวนคุณธรรมในวรรณกรรมและการปฏิบัติ แด่นักสร้างบารมี 2  หน้า 55
หน้าที่ 55 / 131

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจถึงแนวทางการปลูกฝังคุณธรรมและความยุติธรรมจากวรรณกรรมจีนและฝรั่ง เช่น เปาบุ้นจิ้นและเช็คสเปียร์ ที่ช่วยให้เยาวชนได้เรียนรู้และเติบโตอย่างมีคุณธรรม ผู้เขียนยังหยิบยกประสบการณ์การประเมินตนเองและการเขียนหนังสือเพื่อส่งเสริมการสร้างบารมี โดยเฉพาะตำราเกี่ยวกับคุณธรรมสำหรับนักสร้างบารมีของวัดพระธรรมกาย และได้แรงบันดาลใจจากการได้รับการสอนจากคุณยายอาจารย์ในการฝึกสมาธิเพื่อเข้าถึงธรรมกาย และการประเมินบุญบารมีผ่านการปฏิบัติที่สม่ำเสมอทุกปี.

หัวข้อประเด็น

-การปลูกฝังคุณธรรม
-วรรณกรรมจีนและวรรณกรรมฝรั่ง
-การประเมินตนเอง
-การสร้างบารมี
-การฝึกสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การทบทวนคุณธรรม ๕๕ อะไรที่เป็นความยุติธรรมในยุคนั้น ชาวจีนก็จับยก ให้เป็นของเปาบุ้นจิ้นหมด เพื่อให้ลูกหลานจำง่าย ศึกษาง่าย นี่ก็เป็นอัจฉริยะของคนจีน ขณะที่ของ ฝรั่งก็มีเช็คสเปียร์ ที่สร้างวรรณกรรมไว้หลายเรื่อง ให้เป็นต้นแบบปลูกฝังคุณธรรมของเยาวชน ที่เล่ามานี้คงเป็นคำตอบในระดับหนึ่งได้ว่า ทำไมหลวงพ่อจึงมีนิสัยชอบประเมินตนเองมาตั้งแต่ เล็ก และตั้งแต่บวชมาก็ตั้งใจทุ่มเทเวลาให้กับการ เขียนหนังสือมาเป็นสิบๆ ปี ตั้งใจว่าก่อนตายจะ พยายามเขียนหนังสือดีๆ ไว้เป็นต้นแบบปลูกฝังคุณ ธรรมให้ลูกหลานไทยสักหลายๆ เล่ม โดยเฉพาะตำรา ปลูกฝังคุณธรรมสำหรับนักสร้างบารมีของวัดพระ ธรรมกาย และประชาชนทั่วไปไว้ศึกษา ต่อมาเมื่อมาพบคุณยายอาจารย์ ได้รับการ สั่งสอน ชี้แนะ อบรม โดยเฉพาะสอนวิธีฝึกสมาธิ เพื่อเข้าถึงธรรมกาย ให้พอเอามาผสานกับความรู้ที่ ได้ค้นคว้าเองจากพระไตรปิฎก ก็ทำให้รู้จักประเมิน การสร้างบุญบารมีของตนเอง ประเมินข้อประพฤติ การปฏิบัติต่างๆ ของตนเป็นประจำทุกปี
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More