การทบทวนคุณธรรมในการบวชเป็นปริพาชก แด่นักสร้างบารมี 2  หน้า 65
หน้าที่ 65 / 131

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการทบทวนคุณธรรมในชีวิตของพระโพธิสัตว์ที่เป็นปริพาชกที่อยู่ในสถานะการณ์ที่ยากลำบาก ต้องเผชิญการทนทุกข์และการไม่สามารถสึกออกจากการเป็นฆราวาส ลักษณะการปกครองของปริพาชกในยุคนั้น และวิธีการใช้สัจจะในการรักษาลูกศิษย์ที่ป่วยหนัก โดยแสดงให้เห็นถึงการขัดเกลาคุณธรรมและความรับผิดชอบที่มีต่อคนรอบข้าง

หัวข้อประเด็น

-การทบทวนคุณธรรม
-การเป็นปริพาชก
-การปกครองในปริพาชก
-การใช้สัจจะในการรักษา
-พระโพธิสัตว์และประวัติศาสตร์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การทบทวนคุณธรรม ๖๕ ได้เรื่องได้ราว ไร้ประโยชน์ ครั้นจะสึกกลับออกไปเป็นฆราวาสตามเดิม ก็ไม่ได้เสียแล้ว เพราะสมัยนั้น ถ้าใครบวชแล้วสึกออก มา ชาวบ้านเขาจะประชาทัณฑ์เอาถึงตาย ก็เลยต้อง ทนอยู่เป็นปริพาชกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งบวชมาได้ ๕๐ ปี เนื่องจากพระ โพธิสัตว์ท่านมีความประพฤติงดงามมาแต่เดิม ในที่ สุดก็ได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น มาเป็นหัวหน้าของปริ พาชกทั้งแผ่นดิน ครั้งนั้นปริพาชกมีการปกครอง กันแบบคณะกรรมการ มีคณะกรรมการบริหารประ มาณ ๕-๑๐ คนเห็นจะได้ วันหนึ่งถึงคราวจะหมดเวร ก็เกิดเหตุ ลูก ศิษย์หัวแก้วหัวแหวนของท่านล้มป่วยอย่างกระทันหัน แล้วก็สลบไสล หมดสติ แน่นิ่งไป กลายเป็นเจ้าชาย นิทรา หมอทั้งเมืองทุ่มเทรักษาเท่าไรๆ ก็ไม่หาย เมื่อ หมดหนทางรักษา ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารก็คิด จะเอาฤทธิ์ของสัจจะมาเป็นโอสถ เพื่อรักษาลูกศิษย์ ในบรรดาคณะกรรมการบริหารปริพาชก ใครมีสัจจะ อะไรดีๆ แต่ละคน ก็จะระลึกถึงสัจจะของตน แล้ว
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More