การฝึกฝนและพัฒนาตัวเองผ่านทมะ แด่นักสร้างบารมี 2  หน้า 34
หน้าที่ 34 / 131

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงคำว่า 'ทมะ' ซึ่งเป็นการฝึกฝนตนให้มีความรู้และความดีมากขึ้น โดยต้องเรียนรู้จากครูบาอาจารย์ และมีการปฏิบัติตามคำสอนอย่างเคร่งครัด การฝึกนั้นต้องมีความตั้งใจและต้องข่มใจตัวเองเพื่อผ่านสถานการณ์ที่ยากลำบาก ซึ่งจะแสดงถึงการพัฒนานิสัยใจคอและพฤติกรรมให้ดีขึ้นในสิ่งที่ไม่สะดวก และจะส่งผลดีในอนาคต.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของทมะ
-การฝึกและการเรียนรู้จากครู
-ความสำคัญของการข่มใจในการฝึกตัว
-การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อความดีงาม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แด่... สร้างบารมี ๒ ๓๔ ๒. ทมะ ทมะ หมายถึง ความกระตือรือร้นในการ เคี่ยวเข็ญฝึกตน อย่างไม่มีข้อแม้ เพื่อให้ตนเองมีทั้ง ความรู้ความสามารถและความดีเพิ่มมากขึ้น วิธีฝึกหลวงพ่อก็ได้อธิบายไปแล้ว คือให้ เข้าไปหาครูบาอาจารย์ ๑ ฟังคำครู ๑ ตรองคำครู 9 แล้วก็ทำตามครู ๑ ทำให้ครบ ๔ ประการนั่นแหละ จึงจะได้รับการถ่ายทอดความรู้ และความดีจากครู บาอาจารย์ จำไว้ว่า “ถ้าไม่ยื่นหน้าเข้าไปหาครู หรือผู้หลัก ผู้ใหญ่ เราก็จะไม่มีทางได้ฝึกตัว และเงื่อนไขที่สำคัญในการฝึกตัว ก็คือต้อง ทนฝืนใจ ข่มใจ เพราะการฝึกใดๆ ถ้าไม่มีการเจ็บตัว ไม่ชื่อว่าเป็นการฝึกตัว เจ็บตัวในที่นี้ไม่ได้หมายถึง บาดเจ็บหรือต้องได้แผลเหวอะหวะมา แต่หมายถึง การฝืนใจข่มใจเปลี่ยนนิสัยใจคอเดิม เปลี่ยนความ ประพฤติให้ดีงามขึ้นใหม่ ซึ่งแน่นอนแม้ไม่เจ็บกาย แต่มันอึดอัด ขัดใจ เสียหน้า แล้วก็เจ็บใจ แต่มันจะ ดีใจและภูมิใจในเบื้องปลายนะลูกนะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More