ข้อความต้นฉบับในหน้า
๒) ศรีรัฏฐธัมมสูตร คำสอนว่าด้วยความทุกข์ประจำสรีระ
๒.๑) ความหมายของพระสูตร
“สรีรัฏฐธรรม” หมายถึง “ธรรมประจำสรีระ” กล่าวให้ตรงประเด็นก็คือ “ความทุกข์
ประจำร่างกาย” นั่นเอง
พระสูตรนี้ ประกอบด้วยหัวข้อธรรม ๑๐ ประการ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่ง
ให้เราต้องหมั่นพิจารณาอยู่เนือง ๆ ในชีวิตประจำวัน ดังนี้
๑) ความหนาว
๓) ความหิว
๕) ความปวดอุจจาระ
๓) ความสํารวมกาย
๒) ความร้อน
๔) ความกระหาย
5) ความปวดปัสสาวะ
๔) ความสํารวมวาจา
๔) ความสำรวมในอาชีพ ๑๐) ธรรมเป็นเครื่องปรุงแต่งภพ
เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่
หัวข้อธรรมทั้งสิบนี้ หากเราดูเพียงผิวเผินก็จะเห็นว่าเป็นเรื่องเข้าใจง่าย ไม่ใช่เรื่อง
ลึกซึ้งถึงขั้นที่จะต้องนำมาเทศน์สอนกันเลย โดยเฉพาะข้อที่ ๑-๖ ไม่ว่าจะเป็นความหนาว
ความร้อน ความหิว ความกระหาย ความปวดอุจจาระ ความปวดปัสสาวะ สิ่งเหล่านี้เป็น
เรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของทุกคน ไม่มีความพิสดารอันใด เพราะใคร ๆ ก็รู้จักดี
ทั้งนั้น แต่เพราะว่าเราดูเบา ไม่นำมาคิดพิจารณานี่เอง เราจึงไม่รู้ว่าตนได้ทำผิดพลาด
เรื่องสำคัญไปแล้ว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงไม่ปล่อยผ่านเรื่องนี้ ทรงพิจารณาอยู่เนือง ๆ ทรงสังเกต
อยู่เนือง ๆ ทรงตั้งคำถามและศึกษาหาสาเหตุที่มาอยู่เนือง ๆ จากนั้นก็ทรงหาทางแก้ไข
พระองค์ให้พ้นจากทุกข์ประจำสรีระนี้อยู่เนือง ๆ จนกลายเป็นปกตินิสัยของการประพฤติ
ปฏิบัติธรรมอย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน
ๆ
พระพุทธองค์จึงได้ทรงพบว่า สิ่งเหล่านี้เองที่สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึก
พระองค์เองให้พ้นทุกข์จากวัฏสงสารได้จริง ทรงสามารถฝึกชาวโลกให้บรรลุธรรมตามมา
ได้จริง และก็กลายเป็นที่มาของคำสอนต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา ดังที่พระองค์ตรัส
ยืนยันไว้ในโรหิตัสสสูตร มีใจความว่า “ธรรมะทั้งหลายที่พระองค์ทรงตรัสรู้นั้น ไม่ได้นำมา
จากนอกโลก นอกจักรวาล นอกอวกาศ แต่นำมาจากภายในกายที่ยาววา หนาคืบ กว้าง
ศอก มีใจครองนี้เอง” พูดง่าย ๆ ก็คือ “ธรรมะที่ทรงตรัสรู้อยู่ในตัวของมนุษย์เรานี่เอง”
ตรงนี้เองที่มีข้อเตือนใจว่า “ธรรมะทุกข้อนั้น แม้ตรัสเพียงสั้น ๆ ก็ทำให้ผู้ปฏิบัติ
ตามบรรลุนิพพานได้” เราจึงดูเบาธรรมะไม่ได้แม้แต่คำเดียว จึงจะได้ปัญญา ได้ความ
ช่างสังเกต ได้ความละเอียดลออมาใช้ในการพัฒนาตนเองให้มีความเจริญก้าวหน้า
๕๙