ฆราวาสธรรมและความสำคัญต่อการปฏิบัติธรรม วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2554 หน้า 67
หน้าที่ 67 / 112

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้สรุปถึงความสำคัญของฆราวาสธรรมที่มี 4 ข้อ ได้แก่ สัจจะ ความรับผิดชอบ ทมะ ความรักในการฝึกอบรมตนเอง ขันต ความทรหดอดทน และจาคะ ความเสียสละเพื่อส่วนรวม การฝึกฝนเหล่านี้ช่วยให้ผู้ปฏิบัติธรรมมีความก้าวหน้า ได้นำเสนอรายละเอียดของแต่ละข้อเกี่ยวกับความจริงใจต่อหน้าที่ การงาน และความดี โดยเน้นว่าความจริงใจจะสะท้อนจากการพูดและการกระทำ การรักษาศีลตามเพศภาวะก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญในการสร้างบารมี.

หัวข้อประเด็น

-ฆราวาสธรรม
-สัจจะ
-การปฏิบัติธรรม
-ความรับผิดชอบ
-การรักษาศีล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จากการสังเกตเรื่องนี้ ทั้งจากในอดีตที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก และในยุคปัจจุบันที่ หลวงพ่อสังเกตเห็น ก็สรุปสาเหตุได้ว่า ผู้ที่ปฏิบัติธรรมได้ดีแม้เพิ่งเข้าวัดมาไม่นานนั้น เป็นเพราะว่า เขาฝึก “ฆราวาสธรรม” เป็นพื้นฐานนิสัยประจำตัวมาแล้วตั้งแต่ก่อนเข้าวัด ฆราวาสธรรม ประกอบด้วยหลักธรรม ๔ ข้อ ได้แก่ ๑) สัจจะ หมายถึง ความรับผิดชอบ ๒) ทมะ หมายถึง ความรักในการฝึกฝนอบรมตนเอง ๓) ขันต หมายถึง ความทรหดอดทน ๔) จาคะ หมายถึง ความเสียสละเพื่อส่วนรวม ๑) คนมีสัจจะ คือ คนมีความรับผิดชอบ โดยย่อแบ่งเป็น ๓ ประการ ๑.๑) สัจจะต่อหน้าที่และการงาน ผู้ที่มีสัจจะต่อหน้าที่การงาน จะมีลักษณะว่า เมื่อรับงานไปแล้ว ต้องมีความจริงจัง ถ้าทำ ไม่เสร็จก็ไม่ใช่เรา และเมื่อทำแล้วก็ต้องดีด้วย ๑.๒) สัจจะต่อบุคคลและวาจา คนมีสัจจะต่อบุคคลและวาจา คือ คนที่มีความจริงใจ ไม่ว่าจะกับคนกันเอง หรือคนอื่น ที่มาทำงานร่วมกับเรา หรือมาเป็นแขกของเรา เรารักตัวเองอย่างไร ก็ต้องจริงใจกับเขาอย่างนั้น วาจาแต่ละคำต้องสะท้อนความจริงใจที่มีต่อเขา พูดคำไหนก็คำนั้น พูดว่าใช่ก็คือใช่ (Yes = Yes) พูดว่าไม่ใช่ก็คือไม่ใช่ (No = No) การที่ใครพูดจาอะไรกับผู้อื่นแล้ว ไม่คำไหนคำนั้น ก็แสดงว่าสัจจะต่อวาจายังไม่ดีจริง เช่น บางคนพูดว่าใช่ก็คืออาจจะ (Yes = May be) พูดว่าไม่ก็คืออาจจะ (No = May be) ตกลง ไม่มีอะไรแน่นอน คนที่พูดอาจจะ (May be) บ่อย ๆ ในที่สุดแล้วเขาก็จะกลายเป็นศรีธนญชัย พูดจาแก้ตัวไปวัน ๆ หาความน่าเชื่อถือไม่ได้เลย บทสรุปที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ไว้ คือพูดอย่างไรทำอย่างนั้น ทำอย่างไรพูดอย่างนั้น คือ พูดจริงทำจริง ถึงจะเรียกว่ามีความจริงใจต่อบุคคลและวาจา ๑.๓) สัจจะต่อความดี คนมีสัจจะต่อความดี คือ คนที่ปฏิบัติอย่างจริงแสนจริงต่อการรักษาศีลในเพศภาวะของตน ถ้าเพศภาวะของตนเป็นพระ ก็ตั้งใจรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ อย่างเคร่งครัด ถ้าเพศภาวะของตน เป็นอุบาสกอุบาสิกาอยู่ในวัด ก็ตั้งใจรักษาศีล ๔ ข้อ อย่างเคร่งครัด ถ้าเพศภาวะของตนเป็น ผู้ครองเรือน ก็ตั้งใจรักษาศีล ๕ ข้อ อย่างเคร่งครัด ถึงจะเป็นผู้มีความจริงแสนจริงต่อความดี สัจจะต่อความดีนี้ ทำให้โจรกับนักสร้างบารมีมีความแตกต่างกัน โจรที่พูดจริงทำจริงก็มี แต่ว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นความจริงที่เลว แต่นักสร้างบารมีทำแต่ความดี ก็ต้องเป็นคนพูดจริง ทำจริง ดีจริง และต้องดีจากเนื้อใน ไม่ใช่ดีแค่คำพูด ซึ่งถ้าดีแค่คำพูดแต่ยังไม่ลงมือทำ ก็เท่ากับยังไม่ดี จริง ๖๕
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More