การค้นคว้าจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกี่ยวกับอาการร้อนหนาวในร่างกาย วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2554 หน้า 64
หน้าที่ 64 / 112

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้เราจะได้เรียนรู้จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกี่ยวกับอาการหนาวร้อนในสรีระที่เกิดจากธาตุ 4 ที่ไม่บริสุทธิ์ โดยมีการเปรียบเทียบอาการเหล่านี้กับการตายของเซลล์ในร่างกายที่เกิดขึ้นทุกนาที ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการทำให้ธาตุในร่างกายมีความบริสุทธิ์ เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีข้อคิดในการนำธรรมะมาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเพิ่มพูนปัญญาและนิสัยดี ๆ ในทุก ๆ คนในชีวิต

หัวข้อประเด็น

- การศึกษาเกี่ยวกับอาการหนาวร้อน
- การนำธรรมะมาใช้ในชีวิต
- การบริสุทธิ์ของธาตุในร่างกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๖๒ ในสรีระให้หมดสิ้นไป เพราะถ้ายังประทับอยู่ในวัง ๓ ฤดู จะไม่มีทางหาวิธีแก้ทุกข์เหล่านี้ ได้เลย หลังจากนั้น พระองค์ก็ทรงค้นคว้าสารพัดวิธีอย่างทุ่มชีวิตเป็นเดิมพัน จนกระทั่ง ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ทรงพบว่า อาการหนาวร้อนที่เกิดขึ้นในสรีระนี้ มีสาเหตุมาจากธาตุ ๔ ในตัวของเราไม่บริสุทธิ์นั่นเอง ดังนั้น อาการร้อนหนาวจึงเหมือนเป็นสัญญาณเตือนให้เรารู้ว่า แม้ขณะนี้เราจะ รู้สึกว่ายังแข็งแรงอยู่ แต่เราก็จะต้องตายกันทั้งนั้นไม่ช้าก็เร็ว คนที่ตายไปก่อนหน้าเรานั้น เด็กกว่าเราก็มี แก่กว่าเราก็มี รุ่นเดียวกับเราก็มี แล้วคนต่อไปจะเป็นใครกันแน่ ก็มีสิทธิ์ เป็นไปได้ทุกคน นี่คือสิ่งที่สะท้อนกลับมายังตัวเรา เพราะฉะนั้น เมื่อเรียนธรรมะแล้ว ต้องนำมาใช้กับชีวิตให้ได้จริง เพียงแค่ ๒ ข้อนี้ เราก็เห็นแล้วว่า แพทย์บอกว่าอาการหนาวร้อนเกิดจากการที่เซลล์ในร่างกายตายไป ๓๐๐ ล้านเซลล์ทุก ๆ ๑ นาที ส่วนพระพุทธองค์ตรัสว่า ธาตุ ๔ ในตัวคนเราไม่บริสุทธิ์ ตรงนี้ ย่อมทำให้เราได้ข้อคิดขึ้นมาทันทีว่า ถ้าธาตุ ของใครบริสุทธิ์น้อยหรือสกปรกมาก เซลล์ก็ตายมาก แต่ถ้าธาตุ ๔ ของใครบริสุทธิ์มาก เซลล์ก็ตายน้อย ตรงนี้เองที่ทำให้ ความหนาวร้อนและความแข็งแรงในแต่ละคนไม่เท่ากัน นอกจากเรื่องความหนาวกับความร้อนแล้ว ถ้าเรามองย้อนกลับเข้ามาในตัว ก็จะพบ เรื่องละเอียดลอออีกมากมาย แล้วก็จะได้ปัญญามาบ่มเพาะนิสัยดี ๆ ให้เกิดขึ้นมาอีกมาก นี่เพิ่ง ๒ หัวข้อแรกจากพระสูตรนี้เท่านั้น เรายังได้ข้อคิดมาใช้งานมากขนาดนี้ แสดงให้ เห็นว่า ธรรมะนั้นแม้ตรัสไว้เพียงหัวข้อสั้น ๆ ก็ดูเบาไม่ได้ 1 สรีรัฏฐธัมมสูตร, อง. ทสก. ๒๔/๔๙/๑๐๕ (มจร.) 2 โรหิตัสสสูตร, สํ.ส. ๑๕/๑๐๗/๑๑๙ (มจร.) (อ่านต่อฉบับหน้า)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More