พิธีกรรมการลอยโคมและกระทง: ความสัมพันธ์ไทยและการบูชาน้ำ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2554 หน้า 71
หน้าที่ 71 / 112

สรุปเนื้อหา

พิธีลอยโคมเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์สำหรับการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระแม่คงคา ซึ่งเริ่มมีการจัดขึ้นในประเทศไทยและขยายไปยังประเทศอื่นๆ เช่น อินเดียและมองโกเลีย โดยเฉพาะในช่วงเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง นอกจากนี้ ยังมีการใช้กระทงจากวัสดุธรรมชาติในวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยการจัดงานลอยกระทงหรือโคมลอยที่มีสว่างอยู่ในคืนมืด โดยเราสามารถพบเห็นการลอยกระทงสายตามจังหวัดต่างๆ เช่น จังหวัดตาก และการร่วมกันปล่อยโคมลอยในงานประชุมเอเปคที่กรุงเทพฯ โดยใช้ทีมงานจากพิธีกรรมท้องถิ่นในการจัดงานนี้ นับเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในขณะเดียวกัน.

หัวข้อประเด็น

-พิธีวัฒนธรรมไทย
-การบูชาน้ำ
-ลอยโคมและกระทง
-ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
-อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไปจัดมาแล้ว ชาวพุทธในอินเดียเขาเห็นไทยจัด มองโกเลียจัด เขาก็จัดบ้าง เวลาจัดพิธีบวช อุบาสิกาแก้ว หลังปฏิบัติธรรมร่วมกันแล้ว ก็จัดพิธีลอยโคม เป็นการรวมใจทุกคนเพื่อบูชา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่าเริ่มกระจายจาก ประเทศไทยขยายไปหลายประเทศแล้ว ประการที่สอง บูชาพระแม่คงคา การลอยกระทงเป็นการบูชาพระแม่คงคา ในวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงที่มีน้ำเต็มตลิ่ง บริบูรณ์ที่สุด เป็นการแสดงความขอบคุณผืนน้ำ เพราะมนุษย์เราอยู่ได้ต้องอาศัยน้ำ ตั้งแต่โบราณ มา ชุมชนไหนจะสร้างเมืองต้องอยู่ติดแม่น้ำ ไม่มีแหล่งน้ำสร้างเมืองไม่ได้ ต้องสร้างอิง แหล่งน้ำทั้งนั้น ฉะนั้นในรอบ ๑๒ เดือน เดือนที่ เหมาะที่สุดที่จะทำพิธีก็คือเดือน ๑๒ เพราะว่า น้ำเต็มบริบูรณ์ แล้วชาวนาส่วนใหญ่ก็เกี่ยวข้าว เสร็จเรียบร้อย งานก็เสร็จแล้ว น้ำก็เต็มท่า ได้จังหวะพอดี ก็เอาเทศกาลนี้มาลอยกระทงกัน ในคืนวันเพ็ญน้ำเต็มตลิ่งพระจันทร์สว่างเด่นบนฟ้า การบูชาน้ำก็ต้องหาอะไรที่ลอยได้ แล้ว กลางคืนมืด ๆ ไม่มีความสว่าง มองไม่เห็นอะไร ก็ต้องบูชาด้วยความสว่าง จะเป็นความสว่างรูปแบบ ไหนก็แล้วแต่ท้องที่ แต่จะเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือต้องมีความสว่างเหมือนกันหมด ในภาคกลางบูชาด้วยกระทงที่ทำด้วยใบตอง มีเทียนปัก ต่อมามีโฟมก็ใช้โฟมทำกระทง แต่ งานลอยโคมวิสาขประทีปถวายเป็นพุทธบูชา ประเทศมองโกเลีย บางคนไม่เอาโฟม ชอบกระทงแบบธรรมชาติ ที่ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทางเหนืออย่างจังหวัดตากขึ้นชื่อลือชา เรื่องกระทงสาย เขาเอากะลามะพร้าวมาขัดให้ สะอาด แล้วเอาเทียนพรรษาหลอมมาใส่ในกะลา ตรงกลางเอาด้ายดิบมาทำเป็นไส้เทียน เตรียมไว้ เป็นพันกะลาเลย ถึงคราวก็นำไปลอยในแม่น้ำปิง ที่จังหวัดตาก จุดแล้วก็ลอยตาม ๆ กันไป จน บางคนที่เห็นกระทงไหลเป็นสายก็คิดว่าคงมีเชือก ผูกอยู่ข้างล่าง จริง ๆ ไม่มี เผอิญแม่น้ำปิงที่ผ่าน จังหวัดตาก ข้างล่างมีสันทรายอยู่ เวลาน้ำมา มันจะมาเป็นร่องน้ำ เวลาปล่อยกระทงออกไป มันจะลอยไปตามร่องน้ำเป็นสาย เนื่องจากเขา ปล่อยแบบต่อเนื่องกัน กระทงก็เลยไหลไป เป็นสาย เป็นภาพที่งามมาก เมื่อตอนประชุมเอเปค (APEC) ที่มีผู้นำ ทั่วโลกมาประชุมกันที่กรุงเทพฯ ไทยเราเป็นเจ้าภาพ พอเสร็จการประชุมแล้ว ตอนภาคค่ำ ที่ริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยา เราก็ปล่อยโคมลอย โดยทาง ราชการติดต่อยืมทีมงานจากธุดงคสถานล้านนา ที่ปล่อยโคมยี่เป็งให้มาช่วยปล่อยโคมข้างวัด พระแก้ว โคมลอยขึ้นไปบนฟ้าเป็นสาย ในแม่น้ำ ก็เอาทีมงานกระทงสายจากจังหวัดตากมา ตามปกติเขาจะดูแลเรื่องความปลอดภัย ของผู้นำประเทศสูงมาก ต้องอยู่ในห้องที่มี กระจกกันกระสุน ป้องกันการลอบยิง ปรากฏว่า ๖๙
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More