การเข้าถึงธรรม: คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติธรรมที่ดี วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2554 หน้า 68
หน้าที่ 68 / 112

สรุปเนื้อหา

ผู้ปฏิบัติธรรมที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น สัจจะ ความรับผิดชอบ และการมีขันติ รวมถึงการเสียสละเพื่อส่วนรวม แม้จะมีความท้าทายสำหรับผู้ที่มาจากความเชื่อที่แตกต่าง แต่การฝึกสมาธิจะช่วยเสริมสร้างความก้าวหน้าในธรรมะได้อย่างมีประสิทธิภาพ การฝึกฆราวาสธรรมและการพัฒนาจิตใจตั้งแต่ก่อนเข้าวัดจะส่งผลดีต่อการเข้าถึงธรรมในระยะยาว และสำหรับผู้ที่มาใหม่จากต่างประเทศ ความมุ่งมั่นในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อเป็นสิ่งที่สำคัญในการปฏิบัติธรรมที่ไหนดี

หัวข้อประเด็น

- สัจจะในธรรมะ
- การฝึกฝนและอบรมตนเอง
- การมีขันติและความอดทน
- ความเสียสละเพื่อส่วนรวม
- ฆราวาสธรรมและการเข้าถึงธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๖๖ ผู้ที่ปฏิบัติธรรมได้ดีนั้น ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ สัจจะของเขาต้องดี เขาไม่ใช่คนที่พูดจา กลับ ไปกลับมาเชื่อถือไม่ได้ เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะเข้าถึงธรรมได้นั้น สัจจะของเขาต้องดีจริง เพราะฉะนั้น คนที่มีสัจจะหรือคนที่มีความรับผิดชอบนั้น ก็คือคนที่จริงจังต่อหน้าที่การงาน จริงใจต่อบุคคลและวาจา จริงแสนจริงต่อการทำความดี เขาถึงจะสามารถเข้าถึงธรรมะอันเป็น สัจธรรมได้จริง ๒) คนมีทมะ คือ คนที่รักการฝึกฝนอบรมตนเอง คนเรามีโอกาสพลั้งเผลอได้บ้าง แต่มีข้อแม้ว่าอย่าให้ใครเตือนเกิน ๓ ครั้ง ในเรื่องเดียวกัน ถ้าใครถูกครูบาอาจารย์หรือเพื่อนฝูงที่รักการฝึกตัวออกปากเตือนถึง ๓ ครั้ง แล้วยังไม่แก้ไข ก็ ฟ้องว่าความจริงแสนจริงต่อความดีของเรายังไม่พอ ๓) คนมีขันติ คือ คนมีความทรหดอดทน คนที่จะมีขันติได้ ก็คือคนที่มีสัจจะกับทมะอยู่ในตัว เพราะเมื่อต้องรับผิดชอบสิ่งใดแล้ว ไม่ ว่าจะต้องพบกับอุปสรรคความยากลำบากใด ๆ ก็ตาม เขาก็จะพยายามบากบั่น เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเอง ให้สามารถทำงานนั้น ทำความดีนั้น ให้สำเร็จลุล่วงจนได้ ๔) คนมีจาคะ คือ คนที่เสียสละเพื่อส่วนรวม ความเสียสละเพื่อส่วนรวมมีอยู่หลายระดับ ๔.๑) สละทรัพย์เพื่อทำบุญ ๔.๓) สละความสะดวกสบาย ๔.๒) สละความได้หน้าได้ตา ๔.๔) สละอารมณ์โกรธ สำหรับพวกเราที่เป็นนักทำบุญ เรื่องเสียสละทรัพย์เพื่อทำบุญนั้น หลวงพ่อไม่เป็นห่วง มากนัก เพราะพวกเราส่วนใหญ่ก็เป็นคนใจบุญอยู่แล้ว แต่เรื่องเสียสละความได้หน้าได้ตานั้น ยัง ไม่ค่อยแน่ใจ เพราะการที่ใครจะเข้าถึงธรรมได้นั้น ถ้ายังอยากได้หน้าได้ตา หรือหิวคำชมอยู่ ก็ มักจะไปไม่รอด นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องเสียสละความสะดวกสบาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องหมู ๆ แล้วก็ยังมี เรื่องสละอารมณ์โกรธ ซึ่งอย่าว่าแต่โกรธข้ามวัน ข้ามเดือน ข้ามปีเลย แค่โกรธข้ามชั่วโมงก็แย่แล้ว ดังนั้น จากการสังเกตผู้มาปฏิบัติธรรมที่วัดตลอดระยะเวลา - ๔๐ ปีนี้ หลวงพ่อจึงได้ข้อสรุป ว่า คนที่เพิ่งปฏิบัติธรรมไม่นาน เดี๋ยวก็เข้าถึงธรรมะได้นั้น เป็นเพราะเขาได้ฝึก “ฆราวาสธรรม ล่วงหน้ามาก่อนเข้าวัดในระดับหนึ่งแล้ว เพียงแค่ดูจากการสนทนาไม่กี่คำก็รู้แล้วว่า เขาคือคน ประเภทที่มีความรับผิดชอบต่อหมู่คณะ มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม คนประเภทนี้เมื่อเข้าถึงธรรม แล้ว จะมีความก้าวหน้าของธรรมะในระยะยาว เพราะพื้นฐานเดิมของเขาดีอยู่ก่อนแล้ว ส่วนผู้ที่มาจากต่างประเทศ นับถือความเชื่ออื่นมาตลอดชีวิต ก็อย่าเพิ่งดูเบาเขา เพราะ การที่ใครจะเปลี่ยนความเชื่อดั้งเดิมได้นั้น เขาจะต้องคิดแล้วคิดอีก ตรองแล้วตรองอีก ต้องต่อสู้ กับตัวเอง ต่อสู้กับความคิดของพ่อแม่ พี่น้อง ไม่เว้นแม้แต่ผู้บังคับบัญชาที่ทำงานด้วย เขาถึง สามารถดั้นด้นมาถึงวัดพระธรรมกาย เพราะฉะนั้น ถึงแม้เขาเป็นชาวต่างประเทศ แต่พอลงมือ ฝึกสมาธิ ก็มีผลการปฏิบัติธรรมแซงหน้าทันที ซึ่งสิ่งนี้ก็ฟ้องว่า “ฆราวาสธรรม” ที่เป็นพื้นฐาน เดิมของเขาก็มีอยู่ไม่เบา ลำพังแค่การตัดสินและตัดใจเปลี่ยนความเชื่อของเขา ก็ต้องตัดสินใจ ด้วยคำไหนคำนั้น ไม่เปลี่ยนกลับไปกลับมา เพราะถ้าเขาเป็นผู้ที่มีแต่คำว่า อาจจะ (May be) เขาย่อมไม่กล้าตัดสินใจมาปฏิบัติธรรมถึงวัดพระธรรมกายอย่างแน่นอน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More