ทันโลก ทันธรรม: การศึกษาและการเห็นจริงในพระพุทธศาสนา วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน กันยายน พ.ศ.2552 หน้า 99
หน้าที่ 99 / 128

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับความสำคัญของการศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นแนวทางในการมองเห็นภาพรวมและความจริงในสังคมไทย การมองเห็นความถูกต้องในเรื่องต่างๆ ผ่านการวิเคราะห์และคิดอย่างรอบคอบ รวมถึงการป้องกันตัวเองจากข้อมูลที่ไม่ถูกต้องผ่านการเปรียบเทียบระหว่างคนที่มีความรู้กับคนที่มีความรู้น้อย กระตุ้นให้ทุกคนหันมาศึกษาหลักธรรมเพื่อให้เกิดการเติบโตทางปัญญาและการเข้าใจที่ถูกต้อง พร้อมทั้งสร้างจุดสมานฉันท์ในสังคมที่มีความแตกต่าง

หัวข้อประเด็น

-หลักธรรมในพระพุทธศาสนา
-การรู้เท่าทันข้อมูล
-ความสำคัญของการศึกษา
-การวิเคราะห์และการตัดสินใจ
-การสร้างความสมานฉันท์ในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทันโลก ทันธรรม ถ้าได้ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้เห็นภาพรวมเสมอ เรื่อง แต่ละเรื่อง ธรรมะที่พระองค์แสดง ให้ภาพรวมที่ครบถ้วนและบริบูรณ์ ใครหมั่นศึกษาหลักธรรมใน พระพุทธศาสนาแล้วก็นั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมอ จะสามารถพบความจริงได้ดีกว่าบุคคลอื่น คนให้เหตุผลนั้นชักไม่เข้าท่า เริ่มให้เหตุผลแค่บาง หากินคล่องขึ้น เศรษฐกิจดีขึ้น ป่วยไข้ไม่สบายมีคน ส่วน เป็นนักโฆษณาชวนเชื่อ ชักจูงให้คนคล้อยตาม ไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เราต้องดูโดยมองเป้าหมาย หลักของบุคคลผู้นั้น องค์กรนั้น ว่ามีหน้าที่หลักคือ อะไร แล้วสามารถทำให้เข้าเป้าหมายหรือเปล่า ข้อดี คืออย่างไร ข้อเสียคืออย่างไร ข้อบกพร่องหากมีอยู่ บ้างคืออะไร แล้วเราจะสามารถตัดสินใจได้ด้วย ความรอบคอบ แล้วก็ไม่พลาด ไม่ถูกหลอกง่าย มาดูอีกมุมหนึ่ง ถ้าคนมีความรู้ถูกหลอกง่าย แล้วคนมีความรู้น้อยถูกหลอกง่ายไหม ถ้าเป็นใน แง่เกี่ยวกับเรื่องทางเทคนิค เรื่องทางวิชาการต่าง ๆ คนมีความรู้มากก็คงจะต้องมีความรู้ที่ดีกว่าคนที่มี ความรู้น้อยเป็นธรรมดา แต่ในบางแง่มุม คนที่มี ความรู้น้อยถูกหลอกได้ยากกว่า เพราะว่าคนมี ความรู้มากตัดสินอะไรด้วยหลักตรรกะ พอฟังแล้ว มีเหตุผลก็เชื่อตามเขาไป เจอคนที่เป็นนักโฆษณา ชวนเชื่อพูดเก่ง ๆ ก็คล้อยตามเขา เพราะฟังแล้วมี เหตุมีผล แต่ตามไม่ทัน คิดไม่ทัน ก็เพราะว่าเหตุผล ที่เขาให้เป็นแค่เหตุผลบางด้าน เขาตั้งใจจะมากล่อม ให้ไปเชื่อตามเขา มาส่องให้เห็นมดกลายเป็นช้าง แล้วก็ทำช้างให้กลายเป็นมด ก็ยังดูเป็นช้างเป็นมด ๆ อยู่ แต่แค่เอากล้องไปขยายกับไปย่อเท่านั้นเอง ทุกอย่างดูกลับตาลปัตรไปหมด แต่คนความรู้น้อย เขาจะตัดสินเรื่องที่ใกล้ ตัวเขา ที่มีผลต่อตัวเขาด้วยความจริง ไม่ใช่ด้วย เหตุผล เช่น เรื่องรัฐบาล ใครมาพูดให้ตายว่า รัฐบาลไม่ดี แต่ถ้ารัฐบาลมาแล้วชีวิตเขาดีขึ้น ทำมา ดูแลรักษาโดยค่าใช้จ่ายไม่แพง รู้สึกว่าทุกอย่างดีขึ้น เขาก็จะถือว่ารัฐบาลนี้ดี ใครจะมาว่าไม่ดี โจมตีให้ ตายเขาก็ไม่เอ แต่ถ้าบอกว่ารัฐบาลดี จะดีอย่างไรก็ตาม ถ้าเศรษฐกิจตกต่ำ ทำมาหากินฝืดเคือง ข้าวปลา อาหารราคาแพง พืชผลขายได้ราคาไม่ดี เขาก็ไม่เชื่อ แล้วว่ารัฐบาลดี เขาไม่ได้คิดด้วยหลักตรรกะ ด้วย เหตุผล ใครจะไปกล่อมอย่างไรเขาก็แค่ฟังไว้ แต่เขา ตัดสินด้วยความจริง มองดูในหม้อแล้วมีข้าวเต็ม ล้วงกระเป๋าแล้วมีสตางค์ ป่วยไข้ไม่สบายแล้วไป หาหมอได้ อันนี้คือดี เพราะฉะนั้น คนเหล่านี้ในบางแง่มุมหลอก ยากกว่าคนมีความรู้ ตรงนี้อาจจะเป็นคำตอบว่า ทำไมสังคมไทยถึงแยกเป็น ๒ ซีกในปัจจุบัน หนทาง จะมาเชื่อมโยงกันมีได้อย่างเดียว คือ ทุกส่วนของ สังคม ทุกกลุ่มทั้งที่มีความรู้มาก ความรู้น้อย ทั้งที่ เรียกว่าปัญญาชน ทั้งที่เรียกว่ารากหญ้า สามารถ พบจุดสมานฉันท์ได้ตรงกัน คือ เมื่อพบกับความเป็น จริงซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการมองภาพรวม โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ถ้าได้ศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้เห็นภาพรวมเสมอ เรื่อง แต่ละเรื่อง ธรรมะที่พระองค์แสดง ให้ภาพรวมที่ ครบถ้วนและบริบูรณ์ ใครหมั่นศึกษาหลักธรรมใน พระพุทธศาสนาแล้วก็นั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมอ จะ สามารถพบความจริงได้ดีกว่าบุคคลอื่น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More