ข้อความต้นฉบับในหน้า
อันได้แก่ สีลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา
หรือหากจะกล่าวง่าย ๆ ก็คือ การศึกษาเรื่องศีล
สมาธิ และปัญญา เพื่อสั่งสมความบริสุทธิ์ทั้งทางกาย
วาจา และใจ ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ซึ่งจะเป็นทางมาแห่ง
“สามัญญผล” หรือผลที่ได้รับจากการออกบวชเป็น
พระภิกษุในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความละเอียดลุ่มลึก
ไปตามลำดับ จนกระทั่งบรรลุอรหัตผล สามารถ
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ให้แจ้งได้ในที่สุด
นอกจากนี้ การบวชยังมีคุณประโยชน์อย่าง
มหาศาลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพุทธศาสนิกชน
เพราะการบวชเป็นกลไกในการปลูกฝังศีลธรรมให้
แก่ผู้คนในสังคม โดยเริ่มต้นที่ผู้ชายซึ่งเปรียบเสมือน
เสาหลักที่ต้องดูแลรับผิดชอบครอบครัว ดังนั้นตั้งแต่
โบราณมาจึงมีค่านิยมว่าชายไทยต้องบวชอย่างน้อย
หนึ่งพรรษาจึงจะถือเป็น “คนสุก” ส่วนคนที่ยังไม่ได้
บวชนั้นถือว่ายังเป็น “คนดิบ” อยู่ เพราะผู้ที่เข้ามา
บวชในพระพุทธศาสนาต้องศึกษาและปฏิบัติตน
ตามพระธรรมวินัย เพื่อนำเอาความรู้ไปเป็นบทฝึก
ในการขัดเกลานิสัยของตนเองให้ดีงาม โดยตั้งอยู่บน
พื้นฐานของความบริสุทธิ์กาย วาจา และใจ ซึ่งหาก
มีศรัทธาบวชสร้างบารมีต่อไปก็จะเป็นพระแท้ให้
ญาติโยมได้กราบไหว้อย่างสนิทใจ หรือหากจำเป็น
ต้องลาสิกขากลับไปใช้ชีวิตในเพศฆราวาส ก็สามารถ
ประคับประคองตนเองและอบรมสั่งสอนบุตรหลาน
ให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม ด้วยเหตุนี้ สังคมไทยในอดีต
จึงมีความสงบร่มเย็น ผู้คนส่วนใหญ่มีนิสัยที่โอบอ้อม
อารี รักบุญ กลัวบาป และมีความเชื่อในเรื่องของ
กฎแห่งกรรมอย่างแน่นแฟ้น
แต่เมื่อหันกลับมามองสังคมในปัจจุบัน ก็ยิ่ง
ทำให้เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนว่า สังคมไทย
ทุกวันนี้ แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะมีความรู้สูง และมี
เทคโนโลยีที่ล้ำยุคกว่าในอดีตอย่างมากมาย แต่ทำไม
นับวันปัญหาวิกฤตต่าง ๆ ของบ้านเมืองกลับยิ่ง
เพิ่มพูนมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนสังคมสมัยรุ่นปู่ ย่า ตา
ยายของเรา ผู้คนกลับอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข
คนสมัยก่อนแม้ว่าด้อยในเรื่องของวิทยาการและ