ความแตกต่างระหว่างการพูดและการเขียน ทันโลกทันธรรม 1 หน้า 22
หน้าที่ 22 / 101

สรุปเนื้อหา

การถ่ายทอดข้อมูลระหว่างการพูดและการเขียนมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน การพูดสามารถทำได้ทันทีในขณะที่การเขียนต้องใช้เวลาคิดและเรียบเรียง ข้อมูลที่ถูกเขียนจะมีการกลั่นกรองมากกว่าที่ถูกพูดออกมา นอกจากนี้ การรับรู้ข่าวสารจากการพูด อาจมีความละเอียดต่ำกว่าการอ่านหนังสือ ทำให้กระบวนการนี้มีความสำคัญต่อการสื่อสารและการเรียนรู้ การเขียนจึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความพยายามและเวลาเพื่อให้ข้อมูลที่ต้องการสื่อสารได้อย่างถูกต้องและชัดเจน

หัวข้อประเด็น

-การถ่ายทอดข้อมูล
-การสัมผัสกับภาษา
-การวิเคราะห์การเขียน
-การเปรียบเทียบการพูดและการเขียน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

22 พระมหาธงชัย ธานุธโม M.D., Ph.D. เราลองสังเกตดูอย่างนี้ ถ้าเราไปดูภาพยนตร์แล้วนำมาเล่าให้เพื่อนฟัง เราแทบไม่ต้องคิดอะไร โรมาอย่างไรได้ยินได้ฟังมาอย่างไร ก็เอามาเล่ต่อ อาจจะใช้เวลา 20 นาที หรือ 30 นาที ก็แล้วแต่ว่าเรื่องนั้นความยาวหรือมีรายละเอียดซับซ้อนแค่ไหน แต่ถ้าหากให้เรียนจดหมายไปเล่าให้เพื่อนที่อยู่ต่างถิ่นอ่านเรื่องเดียวกันเราอาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน ๆ เลยทีเดียว ดั่งที่บางคนบอกว่าเขียนจดหมายยาวแค่ 3 หน้า บางทีใช้เวลา 3 วันยังเขียนไม่เสร็จ เพราะในการเขียนเราต้องใช้เวลาเรียบเรียง ถ้าการพูดก็พูดได้ทันที คิดอะไรได้ก็พูดไป ภาชำน้ าหลังบ้าง ก็ไม่เป็นไร แค่พอเป็นการเขียนจะต้องมีการลำดับความคิด มีการกลั้นรองคัดเลือกใช้ถ้อยคำที่เหมะสม เพราะเรามีเวลาหยุดคิดมากกว่า เพื่อถ่ายทอดให้ตรงกับที่เราต้องการสื่อออกไปให้มากที่สุด เขียนเสร็จก็ตรวจทานได้ก็ว่า ประเด็นครบหรือไม่ ตกหล่นอะไรไหม การเขียนจึงใช้เวลามากกว่า การพูด โดยสรุปคือ ข้อมูลที่ถูกถ่ายทอดเป็นตัวอักษร จะ ผ่านการกลั่นกรองพินิจพิจารณาอย่างละเอียดครอบคลุมมากกว่าข้อมูลจากการพูด นี่คือข้อสังเกตประการแรก ประการต่อมาคือ ขอลองเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการรับสารจากการพูดกับการอ่านหนังสือ เราจะพบว่าเมื่ อข่าวสารนี้จะมีเนื้อความคล้ายกัน แต่ในการดูที่มีความละเอียดใน การใคร่ตรองพินิจพิจารณาของเราจะหย่อน เพราะเราเป็น www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More