พระนิพนธ์ของ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ประวัติพระมงคลเทพมุนี หน้า 11
หน้าที่ 11 / 64

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับพระนิพนธ์ของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณในช่วงวัยเรียน ซึ่งต้องเผชิญกับความลำบากและเป็นสิ่งที่สร้างความเพียรพยายามให้ท่านต้องเดินทางระหว่างวัดต่าง ๆ เพื่อศึกษาในยุคที่หนังสือขอมจารลงในใบลาน นักเรียนได้รับการเรียนการสอนที่แตกต่างกันตามความสมัครใจและสภาพการศึกษา การแบกหนังสือที่หนักอึ้งได้เป็นสัญลักษณ์ของความตั้งใจในการศึกษา สุดท้ายท่านได้กลายเป็นที่เคารพจากชาวบ้านที่อาราธนาท่านรับบิณฑบาตเป็นประจำ

หัวข้อประเด็น

-ชีวิตพระนิพนธ์
-การศึกษาในยุคอดีต
-ความพยายามในการเรียน
-ความเคารพจากชาวบ้าน
-ประสบการณ์ของนักเรียนสมัยก่อน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระนิพนธ์ของ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ 11 เมื่อกำลังเรียนอยู่นั้น ท่านต้องพบกับความลำบากมาก สมัยนั้นเรียนกันตามกุฏิต้องเดินไปศึกษากับอาจารย์ตามวัดต่างๆ เมื่อฉันเช้า แล้วข้ามฟากไปเรียนที่วัดอรุณราชวราราม กลับมา ฉันเพลที่วัด เพลแล้วไปเรียนที่วัดพระเชตุพน แต่ไม่ได้ไปติดๆ กัน ทุกวัน มีเว้นบ้างสลับกันบ้างไป สมัยที่ท่านศึกษาอยู่นั้น กำลังนิยมใช้หนังสือขอมที่จารลง ในใบลาน และนักเรียนที่ไปขอศึกษากับอาจารย์นั้น บทเรียนไม่ เสมอกัน ต่างคนต่างเรียนตามความสมัครใจ กล่าวคือบางองค์ เรียนธรรมบทเบื้องต้น บางองค์เรียนบั้นปลาย ยิ่งนักเรียนมาก หนังสือที่เอาไปโรงเรียนก็เพิ่มจํานวนขึ้น เช่น นักเรียน ๑๐ คน เรียนหนังสือกันคนละผูก นักเรียน ที่ไปเรียนนั้นก็ต้องจัดหนังสือติดตัวไปครบจำนวนนักเรียน เป็น ทั้งนี้ก็เพราะนอกจากเรียนตามบทเรียนของตนแล้ว เอาหนังสือ ไปฟังบทเรียนของคนอื่นด้วย ช่วยให้ตนมีความรู้กว้างขวางขึ้น ฉะนั้นปรากฏว่านักเรียนต้องแบกหนังสือไปคนละหลายๆ ผูก แบกจนไหล่ลู่ คือว่าหนังสือเต็มบ่า หลวงพ่อวัดปากนํ้าเป็นนักเรียนประเภทดังกล่าว ท่าน พยายามไม่ขาดเรียน แบกหนังสือข้ามฟากลงท่าประตูนกยูงวัด พระเชตุพน ไปขึ้นท่าวัดอรุณฯ เข้าศึกษาในสำนักนั้น ท่านเล่าให้ ฟังว่าลําบากอยู่หลายปี ด้วยความเพียรของท่าน จนชาวประตูนก ยูงเกิดความเสื่อมใส ได้ปวารณาเรื่องภัตตาหาร คือ อาราธนาท่าน รับบิณฑบาตเป็นประจำ และขาดเหลือสิ่งใดขอปวารณา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More