พระนิพนธ์ของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ประวัติพระมงคลเทพมุนี หน้า 27
หน้าที่ 27 / 64

สรุปเนื้อหา

พระนิพนธ์ของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 อธิบายถึงการปฏิบัติธรรมด้านพระกัมมัฏฐานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของท่าน ท่านมีความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มจำนวนพระภิกษุสามเณรโดยไม่ได้ปฏิเสธผู้ใดที่มาแสวงหา การบำเพ็ญสมณธรรมยังเป็นที่นิยมของประชาชนทำให้เกิดการเดินทางมาวัดปากน้ำอย่างต่อเนื่อง วันธรรมสวนะมีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก ทำให้กิจกรรมเกี่ยวกับธรรมได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในวันพฤหัสบดี มีผู้เข้าร่วมการเรียนและการปฏิบัติธรรมจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ความสำเร็จในด้านการปฏิบัติธรรมสะท้อนถึงความปรารถนาของท่านในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและหลักธรรม ทั้งนี้ผู้ที่เห็นธรรมด้วยปัญญาของตนจะได้รับธรรมกายซึ่งเป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้ง

หัวข้อประเด็น

-การปฏิบัติธรรม
-พระกัมมัฏฐาน
-พระพุทธศาสนา
-ความสำเร็จของสมเด็จพระสังฆราช
-ธรรมกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระนิพนธ์ของ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ 27 การปฏิบัติธรรมด้านพระกัมมัฏฐาน ถือว่าเป็นงานใหญ่ ในชีวิตของท่าน ด้านคันถธุระมอบให้ศิษย์ที่เป็นเปรียญดำาเนินงาน ไป นักปฏิบัติเพิ่มจํานวนยิ่งขึ้น เพราะท่านมีความปรารถนาไว้ ตั้งแต่มาปกครองวัดปากน้ำ และได้ปฏิญาณในพระอุโบสถว่า “บรรพชิตที่ยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่เป็นสุข” ฉะนั้นใครจะบ่ายหน้ามาฟังท่าน จึงไม่ได้รับคำปฏิเสธกลับ ไป ใครพูดถึงจำนวนภิกษุสามเณรว่ามากมายเกินไป ท่านดีใจ กลับหัวเราะพูดว่า “เห็นคุณพระพุทธศาสนาไหมล่ะ” ถ้าพูดถึงเรื่องนี้เป็นถูกอารมณ์มากทีเดียว ท่านไม่พูดว่า เลี้ยงไม่ไหว มีแต่พูดว่า “ไหวชิน่า” แล้วก็หัวเราะ คิดว่าท่านคง ปลื้มใจที่ความคิดฝัน ของท่านเป็นผลสําเร็จขึ้น การบำเพ็ญสมณธรรม ด้วยการเจริญพระกัมมัฏฐาน กำลัง แผ่รัศมีไปไกล ประชาชนต้อนรับการปฏิบัติ ภิกษุสามเณรต่าง จังหวัดมากขึ้น เกียรติคุณก็แพร่หลาย วันธรรมสวนะจะเห็นคนลง เรือจ้างจากปากคลองตลาดมาวัดปากน้ำไม่ขาดสาย จนพวกเรือ จ้างดีใจไปตามๆกัน เพราะเพิ่มรายได้แก่ผู้มีอาชีพทางนั้น วัน พฤหัสบดีเป็นวันเรียนและเริ่มปฏิบัติ วันนี้ก็มีคนมาก วันละหลายๆ สิบคนก็มี ยิ่งทางรถสะดวก คนยิ่งมากขึ้น ผู้ปฏิบัติคนใดเห็นธรรมด้วยปัญญาของตน ท่านบอกว่าได้ ธรรมกาย อันคำว่าธรรมกายนั้น เป็นคำที่แปลกหูคนเอามากๆ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More