พระนิพนธ์ของ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ประวัติพระมงคลเทพมุนี หน้า 33
หน้าที่ 33 / 64

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเล่าถึงประสบการณ์ปฏิบัติธรรมและญาณของหลวงพ่อซึ่งให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีเมตตาต่อผู้คน แม้ในยามทุกข์ร้อน ท่านยืนยันว่า ถ้ายังมีการโกหกจะไม่สามารถเชื่อถือได้ พร้อมยกตัวอย่างจริงจากชีวิต เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจและคุณค่าของการให้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะในบริบทของการถวายของในพุทธศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-การปฏิบัติธรรม
-เมตตาธรรม
-หลักธรรมของพระพุทธเจ้า
-ความจริงใจในการถวาย
-การบูชาจากความยากจน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระนิพนธ์ของ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ เมื่อได้ยินดังนั้นก็จำต้องนิ่ง และไม่คิดจะถามความเห็นอะไร ต่อไป ที่นํามาเขียนไว้นี้เพื่อจะแสดงว่า ญาณของหลวงพ่อ ให้ ความรู้แก่หลวงพ่ออย่างไรในวิถีของผู้ปฏิบัติธรรม หลวงพ่อ ต้อง พูดอย่างนั้น ถ้าญาณไม่แสดงออกจะเอาอะไรมาพูดได้ ผู้เขียน ก็รับเอาความหนักใจแทนมาโดยลำดับๆ หลวงพ่อ รู้เต็มอกว่า ผู้เขียนเรื่องนี้ไม่เชื่อวิชชาของท่าน และได้เคยพูด กับผู้อื่นหลายคน ว่า “เขาไม่เชื่อเรา” คำว่า “เขา” นั้นหมายถึง ผู้เขียนโดยเฉพาะ หลวงพ่อมีเมตตาปรานีเป็นนิสัย ใครเดือดร้อนมาไม่เคย ปฏิเสธ ย่อมให้อุปการะตามสมควร แต่ไม่ชอบคนโกหก ถ้าจับ โกหกได้แม้ครั้งเดียวท่านก็ว่าคนนี้เก๋ โกหกกระทั่งเรา ก็เป็นคน หมดดี เช่น คราวหนึ่งมีคนแก่มาเรียนกัมมัฏฐาน มีศรัทธากล้า พอได้ผลแห่งการปฏิบัติบ้าง แต่ยังอ่อน กลับบ้านลาลูกเมียมา วัดปากนํ้าอีก มีปลาแห้งตัวหนึ่งมาถวายหลวงพ่อบอกว่ามีเท่า นั่นเอง เพราะความยากจน หลวงพ่อหัวเราะชอบใจ พูดว่า “เออ....ให้มันได้อย่างนี้น่า นี่แหละเขาเรียกว่าคนรวยแล้ว มีเท่าไหร่ถวายจนหมด เมื่อ ครั้งพระพุทธเจ้า นางปุณณทาสีถวายแป้งจี่ทำด้วยแก่พระ พุทธเจ้า ต่อมากลายเป็นคนมั่งมี ปลาแห้งของเราตัวหนึ่งราคา 33
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More