เจ้าฟ้าและการใช้ชีวิตในเชียงใหม่ Case Study กฎแห่งกรรม เล่มที่ 6 หน้า 13
หน้าที่ 13 / 105

สรุปเนื้อหา

เจ้าฟ้าผู้ปกครองเชียงตุงตัดสินใจพำนักในเชียงใหม่เป็นการถาวร พร้อมรักษาสัญชาติไทยและประกอบอาชีพส่วนตัว แม้จะใช้ชีวิตปกติแต่ยังคงห่วงใยบ้านเมือง และประชาชนยังแสดงความจงรักภักดีต่อท่าน เจ้าฟ้าได้ทำบุญในวันสงกรานต์ และมีทายาท 3 คน ซึ่งทำให้มีความผูกพันกับทั้งไทยและต่างประเทศ โดยมีการค้าขายเครื่องเงินซึ่งสืบทอดจากบรรพบุรุษในกิจการปัจจุบัน เจ้าฟ้าสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลสำคัญทั่วโลก.

หัวข้อประเด็น

-การปกครองเชียงตุง
-ชีวิตในเชียงใหม่
-ความสัมพันธ์กับราษฎร
-ประเพณีสงกรานต์
-การค้าขายเครื่องเงิน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

รวมเวลาที่ปกครองเชียงตุง 27 ปี เจ้าฟ้าเลือกพำนักในนคร เชียงใหม่เป็นการถาวร ถือสัญชาติไทย และทำอาชีพส่วนตัว ท่าน ยังคงห่วงใยบ้านเมืองและราษฎรอยู่เสมอ ราษฎรก็ยังจงรักภักดี ต่อท่านไม่เสื่อมคลาย คนไทยทุกระดับชั้นในประเทศไทยเคารพรัก เจ้าฟ้าทำบุญและเลี้ยงอาหารคน ทั้งเมืองเนื่องในวันสงกรานต์ ณ หอหลวงและหอใหม่ และให้เกียรติเจ้าฟ้า ตลอดมา เจ้าฟ้าสมรสกับ ธาดา พัฒนถาบุตร นางฟ้า ภริยาคนไทยที่ ติดตามมาด้วยกันจาก เชียงตุง โดยไม่มีพระ มหาเทวีและนางฟ้าองค์ อื่นๆนอกเหนือจากนี้ มีทายาท 3 ท่าน คือ แพทย์หญิงเจ้านาง เขมรัสมี หรือเจ้านางน้อย ปัจจุบันอยู่ในประเทศไทย เจ้านาง เขมวดี หรือเจ้านางแหลง อยู่ในสหรัฐอเมริกา และเจ้าชาย เขมรัฐ ปัจจุบันอยู่ในประเทศจีน มีทายาทแฝด คือ เจ้าเขมเทพ และเจ้าเขมธัม ขุนศึก-เม็งราย เจ้าฟ้าประกอบอาชีพตามครอบครัวของหม่อมธาดา ขุนศึกเม็งราย คือค้าขายเครื่องเงินตามบรรพบุรุษ 3 ชั่วคนสืบจาก ปู่ทวดของหม่อมธาดา ซึ่งเป็นช่างเงินที่กษัตริย์เชียงใหม่กวาดต้อน มาจากพม่า กิจการเครื่องเงิน ทำให้เจ้าฟ้าได้มีโอกาสต้อนรับ กษัตริย์และบุคคลสําคัญนานาประเทศ นอกจากนี้ ยังร่วมทุนกับ 12 case study
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More