หลักปฏิบัติในการพัฒนาจิตให้ดีขึ้น วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มกราคม พ.ศ.2553  หน้า 60
หน้าที่ 60 / 104

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เน้นการป้องกันและขจัดนิสัยชั่ว รวมถึงการสร้างและรักษานิสัยดี ผ่านการปฏิบัติตามหลักแนวทางมรรคมีองค์ ๘ โดยเริ่มจากสัมมาสติและสัมมาสมาธิ เพื่อให้จิตใจสุขสงบและเห็นความจริงตามธรรมชาติในชีวิต รายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ครอบคลุมทุกข้อและการทำให้กลายเป็นนิสัยได้ถูกนำเสนอไว้อย่างชัดเจน ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การสร้างนิสัยดี
-การขจัดนิสัยชั่ว
-ความหมายของสัมมาสติ
-ความสำคัญของสัมมาสมาธิ
-มรรคมีองค์ ๘
-การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เพื่อป้องกันนิสัยชั่วไม่ให้เกิดขึ้น เพื่อขจัดนิสัยชั่วให้หมดไป เพื่อสร้างนิสัยดีเพิ่มขึ้นใหม่ และเพื่อรักษานิสัยที่ดีแล้วให้มั่นคงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ๆ ๓. สัมมาสติ แปลว่า ความระลึกชอบ ในเบื้องต้นหมายถึง การระวังประคับประคอง ใจให้ถูกต้อง เพื่อให้ใจอยู่ในตัว ไม่แล่นออกนอกตัว ทำให้ระลึกรู้ตัว และมีกำลังใจจะทุ่มเท ทำภาวนาอย่างต่อเนื่องให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ๘. สัมมาสมาธิ แปลว่า ตั้งจิตมั่นชอบ ในเบื้องต้นหมายถึง การนำใจมาวางไว้ ถูกต้องที่ศูนย์กลางกาย ทำให้เกิดความสว่างภายในศูนย์กลางกายอย่างต่อเนื่อง ความสะอาด ความสว่าง ความสงบภายในอันเกิดจากการปฏิบัติสัมมาสมาธิที่ ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ รอบแล้วรอบเล่าตลอดชีวิตนี้เอง ทำให้เกิดการรู้เห็นตรง ตามความเป็นจริงรอบแล้วรอบเล่า เป็นการเพิ่มพูนสัมมาทิฐิให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนกระทั่งเกิด การรู้เห็นเป็นอริยสัจ ๔ ชัดเจน ตรงตามความเป็นจริงดุจเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพระอรหันต์ หลักการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ เพื่อการฟื้นฟูศีลธรรมโลกอย่างสมบูรณ์ มรรคมีองค์ ๘ หมายถึง ข้อปฏิบัติ หรือแนวทางที่เป็นวิธีการอันนำไปสู่ความดับ ทุกข์ อันประกอบด้วย สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ หลักปฏิบัติมรรคมีองค์ Q. ๒. ๓. P. 3 ต้องปฏิบัติให้ครบทุกข้อจะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ ต้องปฏิบัติทั้ง 6 ข้อไปด้วยกัน จะแยกข้อใดข้อหนึ่งมาปฏิบัติตามลำพังไม่ได้ ต้องปฏิบัติแต่ละข้อให้ได้สัดส่วนที่พอเหมาะ ต้องปฏิบัติต่อเนื่องรอบแล้วรอบเล่า จนกระทั่งกลายเป็นนิสัยมรรคมีองค์ ๘ อุปมาเหมือนการตำน้ำพริก ซึ่งจำเป็นต้องมีเครื่องประกอบ ๔ อย่าง ได้แก่ กะปิ กระเทียม พริก น้ำตาล น้ำปลา มะนาว กุ้งแห้ง มะเขือพวง ซึ่งจะขาดอันใดอันหนึ่งไป ไม่ได้ มิฉะนั้นจะไม่ครบเครื่องน้ำพริก อีกทั้งต้องใส่ลงไปในครกเดียวกัน ด้วยสัดส่วนที่ พอเหมาะอีกด้วย หากเติมพริกมากไปก็เผ็ดจัด หรือหากเติมมะนาวมากไปก็เปรี้ยวจัด รับประทานไม่ได้ เวลาทำก็ต้องทำให้ต่อเนื่อง จนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน จึงจะได้น้ำพริก ทรงเครื่องมารับประทาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More