การปฏิบัติอริยมรรค ๘ ในชีวิตประจำวัน วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มกราคม พ.ศ.2553  หน้า 62
หน้าที่ 62 / 104

สรุปเนื้อหา

การฝึกนิสัยตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างความสุขความเจริญให้กับชีวิต ซึ่งประกอบด้วยสัมมาทิฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, สัมมาวายามะ, สัมมาสติ, และสัมมาสมาธิ ที่สามารถปฏิบัติใน ๕ ห้องชีวิต ได้แก่ ห้องนอน, ห้องน้ำ, ห้องแต่งตัว, ห้องอาหาร, และห้องทำงาน โดยต้องมีองค์ประกอบสำคัญคือ กัลยาณมิตร, อุปกรณ์การฝึกนิสัย, การทำงานประจำ, และการพร่ำสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดนิสัยที่ถูกต้องในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-อริยมรรค ๘
-นิสัยที่ดี
-ช่องทางปฏิบัติในชีวิต
-บทบาทของกัลยาณมิตร
-การมีระเบียบในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

มีองค์ ๘ ติดตัวไปตลอดชีวิต ได้แก่ นิสัยมีความเข้าใจถูกเป็นสัมมาทิฐิ นิสัยคิดถูกเป็น สัมมาสังกัปปะ นิสัยพูดถูกเป็นสัมมาวาจา นิสัยทำงานถูกเป็นสัมมากัมมันตะ นิสัย เลี้ยงชีพถูกเป็นสัมมาอาชีวะนิสัยพยายามถูกเป็นสัมมาวายามะ นิสัยระวังใจถูกเป็นสัมมาสติ และนิสัยตั้งใจมั่นถูกเป็นสัมมาสมาธิ นิสัยปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ นี้เองที่จะนำ ความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต สถานที่ที่ใช้ฝึกนิสัยปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ตลอดชีวิต คือ ๕ ห้องชีวิตของ แต่ละคน เพราะเป็นแหล่งกำเนิดนิสัยที่คนเราต้องคิด พูด ทำ ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เป็นกิจวัตร ๕ ห้องชีวิต ได้แก่ ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องแต่งตัว ห้องอาหาร และห้องทำงาน ในการฝึกนิสัยปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๔ ใน ๕ ห้องชีวิตให้สำเร็จนั้น ต้อง อาศัยองค์ประกอบ ๔ ประการ ได้แก่ ๑. มีกัลยาณมิตร คือ มิตรผู้มีใจงาม ทำหน้าที่เป็นต้นแบบความมีสัมมาทิฐิ และครู ผู้ฝึกนิสัยปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๔ ประจำ ๕ ห้องชีวิตให้แก่คนรอบตัว พ่อแม่เป็น กัลยาณมิตรในบ้าน ครูอาจารย์เป็นกัลยาณมิตรในโรงเรียน พระภิกษุเป็นกัลยาณมิตรในวัด หากสถานที่ใดขาดกัลยาณมิตรแล้ว สถานที่นั้นย่อมมีแต่ความทรุดโทรมตกต่ำ เต็มไปด้วย คนพาลและการกระทำชั่ว ๒. มีอุปกรณ์การฝึกนิสัยประจำห้อง ได้แก่ วัตถุสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นต้องมี อยู่ประจำ ๕ ห้อง การเลือกอุปกรณ์แต่ละชิ้น จะต้องยึดหลักความจำเป็นและความ เหมาะสมแก่ฐานะ อาชีพ และสุขภาพ ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ที่สำคัญจะต้องไม่กระตุ้นให้ เกิดความอยากคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่วภายใน ๕ ห้องชีวิตด้วย ๓. มีการทำงานประจำ ๕ ห้องชีวิต คือ สิ่งที่ต้องทำเป็นประจำใน ๕ ห้องชีวิต ให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ การดูแลรักษาให้สะอาดเป็นระเบียบ การใช้ของให้ถูกวิธี รวมทั้งการฝึกกิริยามารยาทต่าง ๆ ประจำ ๕ ห้อง ตลอดจนศึกษาเรื่องข้อควรปฏิบัติ และข้อห้ามที่ควรระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโทษมหันต์ในภายหลัง อันเป็นการตัดไฟ แต่ต้นลม C มีการพร่ำสอนรอบแล้วรอบเล่า คือ การใช้สัมมาวาจาพร่ำสอนให้เกิดความเคารพ ความมีวินัย และความอดทนในการทำงานประจำ ๕ ห้องชีวิต ซ้ำแล้วซ้ำอีก รอบแล้วรอบเล่า เพื่อปลูกฝังให้เกิดความเข้าใจถูก ความคิดถูก คำพูดถูก การทำงานถูก การเพียร ปรับปรุง แก้ไขถูก การระมัดระวังถูก การตั้งใจมั่นถูก จนกระทั่งปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นนิสัยติดตัวไปตลอดชีวิต (อ่านต่อฉบับหน้า)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More