ข้อความต้นฉบับในหน้า
ปกิณกธรรม
เรื่อง : พระมหาเสถียร สุวณฺณฐิโต ป.ธ. ๙ / พระมหาวิริยะ ธมฺมสารี ป.ธ. ๙ / ภาพประกอบ : กองพุทธศิลป์
ทานบารมี
ต้นทางสู่โพธิญาณ
outrym
“เราจักเลือกเฟ้นธรรมที่จะทำให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ ทั่วทั้งสิบทิศ
ตลอดถึงธรรมธาตุ เมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ในกาลนั้น ได้เห็นทานบารมีอันเป็นพุทธการกธรรมข้อที่
๑ เป็นทางใหญ่ ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงเลือกเฟ้นแล้ว จึงสอนตนว่า เธอจงบำเพ็ญทานบารมี
สมาทานให้มั่น หม้อน้ำที่ใครคนหนึ่งคว่ำปากลง น้ำก็ออกจากหม้อมิได้เหลืออยู่เลย ฉันใด
เธอเห็นคนมาขอสิ่งของทั้งที่เป็นขั้นต่ำ ชั้นกลาง ชั้นสูง จงให้ทานโดยไม่เหลือ เหมือนหม้อน้ำ
ที่เขาคว่ำปาก ฉันนั้น” (นิทานกถา)
หลังจากที่ท่านสุเมธดาบสได้รับพุทธพยากรณ์
แล้ว ก็ตรวจตราพิจารณาว่า จะต้องบำเพ็ญความดี
อะไรบ้าง ถึงจะได้ตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัม
พุทธเจ้า ท่านใช้อภิญญาระลึกชาติสอนตนเองว่า
การเกิดที่จะได้สร้างบุญบารมีได้เต็มที่ต้องใช้กาย
มนุษย์ แต่กายมนุษย์นี้ยังตกอยู่ในไตรลักษณ์ มี
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไป อยู่ได้ช่วงเวลาหนึ่ง
เท่านั้น ต้องมีปัจจัยสี่เป็นเครื่องหล่อเลี้ยง หากขาด
สิ่งเหล่านี้แล้ว ร่างกายย่อมดำรงอยู่ไม่ได้
หากเกิดไปแล้วขาดปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่อง
นุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค วันเวลาที่มีอยู่
อย่างจำกัดในชีวิตนั้น ก็ต้องหมดไปกับการแสวงหา
ปัจจัยสี่ ที่สำคัญ คือ ท่านไม่ได้ปรารถนาบรรลุธรรม
ตามลำพัง แต่ต้องการให้สรรพสัตว์ข้ามพ้นจากทุกข์
ในสังสารวัฏไปด้วย ในระหว่างการสร้างบารมีต้องมี
ทีม
เสบียงเพื่อหล่อเลี้ยงบริวาร มีสถานที่รองรับหมู่คณะ
ยิ่งเป้าหมายใหญ่ ยิ่งต้องอาศัยสถานที่เพื่อรองรับ
การบำเพ็ญบารมีมากเท่านั้น เรียกง่าย ๆ คือ ทั้งที่
ทุน ต้องพร้อม จึงจะเผยแผ่ธรรมะได้สะดวก
ท่านสุเมธดาบสรู้ว่า ทานบารมีนี้เป็นบารมีที่
สำคัญมาก ขาดทานบารมีแล้วจะเสียเวลาไปกับการ
แสวงหาปัจจัยสี่ ทำให้บำเพ็ญบารมีข้ออื่นได้ลำบาก
ตามไปด้วย ท่านจึงสอนตนเองว่า จะบำเพ็ญทาน
บารมีประหนึ่งหม้อที่คว่ำ เทน้ำออกหมดไม่ให้เหลือ
เลย นี่เป็นความคิดอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่
จะรื้อสัตว์ขนสัตว์ไปสู่นิพพาน ซึ่งเป็นความคิดที่
คนธรรมดาไม่กล้าคิดกัน
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเป็นพระ
ราชากรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ดำรงตำแหน่งเศรษฐี
ได้สร้างโรงทาน 5 แห่ง คือ ที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ทิศ