การมองทุกข์และกิเลสในพระธรรมเทศนา วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 หน้า 80
หน้าที่ 80 / 128

สรุปเนื้อหา

พระธรรมเทศนาในเรื่อง 'สรีรัฏฐธัมมสูตร' ชี้ให้เห็นว่าทุกข์เกี่ยวข้องกับธาตุในร่างกายที่ไม่บริสุทธิ์ โดยมีสาเหตุจากใจที่เต็มไปด้วยกิเลส อันประกอบไปด้วย โลภะ โทสะ และโมหะ ทำให้มนุษย์ต้องเผชิญกับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย อย่างไม่รู้จบ โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงวิเคราะห์ถึงสภาพของใจที่ถูกกิเลสบีบคั้นอย่างลึกซึ้ง เพื่อกระตุ้นให้ผู้ศึกษานำความเข้าใจนี้ไปปฏิบัติจริงเพื่อการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร. สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-มองทุกข์
-กิเลส
-ทุกข์ประจำสรีระ
-โลภะ โทสะ โมหะ
-การเกิด แก่ เจ็บ ตาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

៧៨ พระธรรมเทศนา มองทุกข์ 9 ให้เห็นชีวิต ตอนที่ ๖ พระธรรมเทศนา “สรีรัฏฐธัมมสูตร-ธรรมประจำสรีระ Bed ข้อที่ ๑๐ ธรรมเป็นเครื่องปรุงแต่งภพเป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ เมื่อเราศึกษาพิจารณาสรีรัฏฐธัมมสูตรมาถึงข้อสุดท้ายนี้ก็จะพบว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมองทุกข์ประจำชีวิตของสรรพสัตว์ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง อย่างที่ไม่เคยมีศาสดาองค์ใด ในโลกปัจจุบันก้าวมาถึงที่จุดนี้เลย 2 สำหรับทุกข์ประจำสรีระตั้งแต่ข้อที่ ๑-๙ ที่เราศึกษาพิจารณากันมาก่อนหน้านี้นั้น เราได้ทราบแล้วว่า มีสาเหตุมาจาก “ธาตุ ๔ ในตัวไม่บริสุทธิ์” ทำให้ทุกนาทีมีอัตราการ ตายของเซลล์เฉลี่ยนาทีละ ๓๐๐ ล้านเซลล์ แต่สาเหตุที่ทำให้ธาตุ ๔ ในตัวไม่บริสุทธิ์นั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงเฉลยไว้ในข้อสุดท้ายนี้เอง ว่าเกิดจาก “ใจไม่บริสุทธิ์” และ ตัวการที่ทำให้ใจไม่บริสุทธิ์ ก็คือ “กิเลส” ที่หมักดอง ห่อหุ้ม บีบคั้น บังคับใจมนุษย์นั่นเอง คำว่า กิเลส หมายถึง เครื่องปรุงแต่งภพเป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ ทำให้มนุษย์ต้อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารไม่รู้จบรู้สิ้น กิเลสเป็นธาตุสกปรกที่บีบคั้นใจของเราให้ทุรนทุราย ต่าง ๆ นานา โดยแบ่งเป็น ๓ ตระกูลใหญ่ ได้แก่ เป็นต้น ๓ สามารถคิดเรื่องเลวร้ายได้ ๑. โลภะ คือ ความคิดโลภอยากได้สมบัติของผู้อื่นในทางที่ไม่ชอบ ๒. โทสะ คือ ความคิดโกรธล้างผลาญทำลายผู้อื่นให้พินาศย่อยยับ ๓. โมหะ คือ ความคิดหลงผิด คิดแต่เรื่องโง่ ๆ อยู่เป็นประจำ เช่น คิดอิจฉาตาร้อน เมื่อกิเลสบีบคั้นใจให้โลภ โกรธ หลง ก็จะทำให้ใจของเราสกปรกด้วยความคิดผิด ๆ เมื่อมีความคิดผิด ๆ ก็พูดผิด ๆ ทำผิด ๆ ตามมา แล้วก็กลายเป็นบาปกรรมติดตัว outrym
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More