หลักวิชชาของการทำบุญ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 หน้า 55
หน้าที่ 55 / 128

สรุปเนื้อหา

การทำบุญอย่างถูกต้องตามหลักวิชชาควรทำใจให้บริสุทธิ์ทั้งสามช่วง คือ ก่อนทำ, ขณะทำ และหลังทำ ซึ่งจะช่วยทำให้บุญที่ได้นั้นส่งผลได้อย่างเต็มที่ ในทุกช่วงวัยของชีวิต พร้อมกันนี้ยังเน้นถึงความสำคัญของการตั้งใจและการมองเห็นคุณค่าของบุญที่เราได้ทำ โดยนำเสนอตัวอย่างการทอดผ้าป่าธรรมชัย และการให้ความสำคัญกับการทำบูชาต่อพระศาสนา การทำบุญนี้มีอานิสงส์มาก และผลที่ได้รับจะติดตามไปทุกภพทุกชาติ อีกทั้งทบทวนถึงการสร้างบารมีตามรอยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระบรมโพธิสัตว์นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญเมื่อมุ่งหวังให้ได้บุญมากในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-หลักวิชชาในการทำบุญ
-การสร้างบารมี
-อานิสงส์ของการทำบุญ
-การทอดผ้าป่าธรรมชัย
-คุณค่าของบุญ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หลักวิชชาของการทำบุญทุกครั้ง ไม่ว่าทำบุญอะไรก็ตาม จะให้ถูกหลักวิชชา จะต้อง ทำใจทั้ง ๓ วาระ ให้บริสุทธิ์ผ่องใส ทั้งก่อนทำ กำลังทำ และภายหลังจากทำแล้ว ใจต้อง ผ่องใส ใจต้องปลื้ม มีปีติสุขหล่อเลี้ยงใจ ถ้าใจสะอาดบริสุทธิ์ผ่องใสทั้ง ๓ วาระ เมื่อบุญ ส่งผลก็จะส่งได้อย่างเต็มที่ทั้ง ๓ วัย ของช่วงชีวิต ตั้งแต่ปฐมวัย มัชฌิมวัย และปัจฉิมวัย ให้เราได้สมบูรณ์พรั่งพร้อมด้วยสมบัติทั้ง ๓ อย่างบริบูรณ์ สมบัติที่เราหามาแต่ละบาท แต่ละสตางค์ เพื่อจะมาทอดผ้าป่าธรรมชัยในยามนี้ หาได้ยากยิ่ง ยิ่งภาวะสิ่งแวดล้อมอย่างที่เราเป็นอยู่นี้ ต้องรักการสร้างบารมีอย่างเอาชีวิต เป็นเดิมพันจึงจะทำได้ ที่เราตัดออกจากใจอย่างไม่เสียดาย อย่างไม่กังวลในความปลอดภัย ของชีวิตในอนาคต มุ่งสร้างมหาทานบารมีตามรอยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามรอยพระ บรมโพธิสัตว์ในกาลก่อน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก ดังนั้นเมื่อทำแล้วต้องได้บุญเยอะ ๆ ทำน้อยต้องได้บุญมาก ทำมากต้องได้บุญมากขึ้นทับทวี บุญเป็นบ่อเกิดแห่งความสุขและความสำเร็จในชีวิตของเรา ตั้งแต่เรายังเป็นปุถุชน จนกระทั่งเป็นพระอริยเจ้า ก็จะต้องอาศัยบุญเป็นหลัก เพราะฉะนั้นก่อนที่เราจะสร้าง มหาทานบารมีทอดผ้าป่าธรรมชัยเป็นครั้งแรก จะต้องทำให้ถูกหลักวิชชา จะต้องทำใจให้ สะอาดบริสุทธิ์ ผ่องใส เหมาะสมที่จะเป็นภาชนะรองรับบุญใหญ่ ให้เราได้บุญเต็มเม็ด เต็มหน่วย ไม่มีหกไม่มีหล่น เมื่อบุญไม่หกไม่หล่น เวลาสมบัติเกิดขึ้นก็เกิดง่ายและเกิด อย่างเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ สำหรับประธานเอกผ้าป่าธรรมชัยในครั้งนี้ คือ กัลฯ เพียงใจ หาญพาณิชย์ และ กัลฯ อนันต์ อัศวโภคิน เวลาเรากล่าวคำถวายผ้าป่า ใจจะต้องนิ่งตรงกลางอย่างสบาย ๆ ให้เสียงเราผ่านศูนย์กลางกาย เป็นอายตนะเสียงทิพย์ดังไปถึงอายตนนิพพาน ให้พระนิพพาน ท่านรับรู้รับเห็นเป็นพยาน จะได้ดังก้องไปถึงอรูปพรหม พรหม และชาวสวรรค์ทั้งหลายด้วย และน้อมผ้าไตรไว้ในกลางกายฐานที่ ๗ เหมือนเรามองเห็นผ้าไตรอยู่ตรงกลางกายของเรา ให้เห็นผ้าไตรจีวรชัดแจ่มอยู่ในกลางกาย ถ้าใจเราหลุดจากกายหยาบ เราจะเห็นไตรจีวร ขยายไปตามกำลังความละเอียดของใจ อย่างนี้จะมีอานิสงส์มาก วันนี้หลวงพ่อขออนุโมทนาสาธุการและขออำนวยพร ขออานุภาพแห่งมหาทานบารมีนี้ จงติดตามตัวไปทุกภพทุกชาติ ให้ลูกทุกคนจงมีแต่ความสุขความเจริญ คิดอะไรในสิ่งที่ดี ขอให้สมความปรารถนา ให้มีดวงตาเห็นธรรม เข้าถึงพระธรรมกาย มีมหาสมบัติจักรพรรดิ มากมายติดตามตัวไปทุกภพทุกชาติ ตราบกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรมเทอญ ๕๓
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More