การเดินทางและการปฏิบัติธรรม วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 หน้า 41
หน้าที่ 41 / 128

สรุปเนื้อหา

ในประสบการณ์การเดินทางไปวัด ขอให้มีความมุ่งมั่นในสุขภาพ แม้จะไม่แน่ใจ แต่การนึกถึงหลวงปู่และเจริญภาวนาเป็นแรงใจ ในระหว่างการเดินทาง ศึกษาวิธีผ่อนคลายช่วยให้บรรลุถึงจุดหมายที่วัดโบสถ์บน การทิ้งความกังวลช่วยให้เดินทางง่ายบนเส้นทางสู่จุดหมายที่มีพระธรรมกายอันศักดิ์สิทธิ์.

หัวข้อประเด็น

-ความมุ่งมั่นในสุขภาพ
-การเดินทางไปวัด
-ปฏิบัติธรรม
-การผ่อนคลายจิตใจ
-การพึ่งพาหลวงปู่

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ตกกลางคืน เกิดความไม่แน่ใจในสุขภาพว่าจะเดินไปได้ตลอดหรือไม่ เพราะทราบ กะทันหัน ไม่ได้ฝึกเดินมาก่อน แต่ต้องรีบตัดความกังวล นอนผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย แล้วนึกถึง หลวงปู่ กลางหลวงปู่มีพระธรรมกายมากมายมหาศาล ผุดขึ้นมาให้นับทีละองค์.... ๑ องค์ ...๒ องค์ ...๓ องค์ ๑๐ องค์ ๒๐ องค์ ...๑๐๐ องค์ ...(ชาวโลก สอนให้นับแกะ แต่ชาวธรรมสอนให้นับพระ) ราตรีย่อมยาวนาน สำหรับผู้ตื่นอยู่ 16. ๆ องค์ ...mo เช้าวันที่ ๑๓ ม.ค. ตื่นตี ๔ ฉันน้ำมาก ๆ ทำภารกิจของสังขาร เวลา ๐๖.๐๐ น. ออกเดินทางจากวัดพระธรรมกาย ถึงวัดบางไผ่ประมาณ ๐๗.๓๐ น. ได้เวลาฉันเช้า เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดอาการจุกตอนเวลาเดิน จึงฉันนิดเดียว ข้าวเหนียว ๓ คำ กล้วยน้ำว้า ๒ ผล เวลา ๐๙.๓๐ น. เริ่มพิธีอธิษฐานจิตเดินธุดงค์ ด้วยใจที่เชื่อมั่น เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจว่าจะต้องเดินไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง คือ วัดโบสถ์บน วัดที่ หลวงปู่เข้าถึงพระธรรมกาย แต่เมื่อเดินไปได้ประมาณ ๓ กม. รู้สึกว่าแขนข้างซ้ายมี อาการชาไปทั้งแขน เพราะสายสะพายบาตรมารัดที่หัวไหล่ ทำให้เลือดลมเดินไม่สะดวก เมื่อเดินมาได้ประมาณ 6 กม. เหลืออีก ๓ กม. ก็จะถึงจุดหมาย มีความรู้สึกว่า ระยะทางที่เหลือมันช่างยาวไกลมาก ยิ่งคิดยิ่งไกล ไม่ต้องคิด ไม่ต้องกังวลว่าจะถึงเมื่อไร ทิ้งทุกอย่าง วางใจนิ่ง ๆ ที่ศูนย์กลางกาย ตามองทาง...ใจมองกลาง เดินไปเรื่อย ๆ กายเริ่มผ่อนคลาย มีพลังมากขึ้นจนถึงจุดหมายปลายทางได้สำเร็จ.... (หลวงพ่อบอก หลังจากรายงานให้ท่านทราบว่าการเอาใจไว้ที่ศูนย์กลางกายจะเป็นจุดที่มีพลังมากที่สุด) โยชน์หนึ่งย่อมยาวไกล สำหรับผู้เหนื่อยล้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More