การสื่อสารและการปรับความเข้าใจกันในครอบครัว วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 หน้า 93
หน้าที่ 93 / 128

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการสื่อสารในครอบครัวที่ช่วยสร้างความอบอุ่นและความเกี่ยวพัน การแสดงความเอื้ออาทรเล็กน้อย เช่น การยิ้มให้หรือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความรักและความหวังดี การใช้เหตุผลในการสอนและปรับตัวถือเป็นสิ่งสำคัญ อีกทั้งการมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน เช่น การรับฟังความรู้สึกของแต่ละฝ่าย ในกรณีที่เกิดปัญหา ระดับอารมณ์จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ หากมีการ……ซึ่งจะต้องมีการปรับเพื่อทำให้เกิดการคืนความสัมพันธ์ที่ดี ในที่สุด การมีกิจกรรมร่วมกันเช่นการไปทำบุญหรือเข้าวัด สามารถช่วยให้ครอบครัวเจริญเติบโตและมีความสุขมากยิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

-การสื่อสารในครอบครัว
-ความรักและความเข้าใจกัน
-การปรับความเข้าใจ
-การเอื้ออาทร
-การใช้เหตุผลในความสัมพันธ์
-การทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ปฏิบัติต่อกันจะสามารถสื่อสิ่งนี้ได้ดีที่สุด แค่เจอ | ๆ หน้าก็ยิ้มให้ มีความเอื้ออาทรเล็ก น้อย ๆ กลับ ถึงบ้านเอาน้ำเย็นให้สักแก้วหนึ่ง ช่วยถือกระเป๋าให้ เปิดประตูบ้านให้ มีการพูดคุยทักทายบ้าง แค่นี้ก็ สร้างความรู้สึกอบอุ่นขึ้นมาแล้ว นอกจากความรักความหวังดีแล้ว ยังมี อะไรที่เราควรจะมอบให้กันอีกหรือไม่ เริ่มจากสายใยความผูกพัน การแคร์ความรู้สึก ของกันและกันแล้ว ก็มาถึงขั้นของการเอื้อประโยชน์ กัน ให้กำลังใจกัน ว่าเราจะช่วยเหลือเอื้อประโยชน์ ซึ่งกันและกันได้อย่างไร เช่น ลูก ๆ ก็ช่วยงานบ้าน แบ่งเบาภาระพ่อแม่บ้าง แม้ไม่มาก แต่พ่อแม่จะรู้สึก ว่าเราแคร์ท่าน ทำให้ท่านมีกำลังใจที่จะทุ่มเททำงาน ต่อไป แล้วพ่อแม่เองก็ห่วงลูก แคร์ลูก แต่ทุกอย่าง ต้องอยู่บนพื้นฐานของความพอดี ถ้าพ่อแม่รักลูก จนกระทั่งเจ้ากี้เจ้าการกำหนดทุกอย่างให้ลูกหมด จนลูกไม่สามารถทำสิ่งที่ตัวเองต้องการได้เลย ลูก ก็จะอึดอัด และรู้สึกว่าความรักของพ่อแม่มากเกินไป อันนี้ไม่มีใครชอบแน่นอน เพราะทุกคนต้องการมี อิสระทางความคิด ต้องปรับกันให้ดี ถามว่ามีวิธีการปรับอย่างไร ก็ต้องให้เหตุผล สะกิดให้ได้คิด ถ้าพ่อแม่บอกว่าสอนลูกยากเหลือเกิน เคยคิดบ้างไหมว่า ถ้าเราทำบางอย่างไม่ค่อยเข้าท่า แล้วลูกเขาอยากจะบอกเรายากกว่าไหม ต้องเอาใจ เขามาใส่ใจเรา วิธีการหลักก็คือ เราจะแนะอะไรใคร อย่างไรก็ตาม อย่าทำให้เขาเสียศักดิ์ศรี รู้สึกถูก หมิ่นเกียรติ อย่างนี้ไม่ได้ผล ต้องอยู่บนพื้นฐานของ ความรักและความหวังดี เพราะฉะนั้นเราจะต้อง ระมัดระวังให้ทุกคนที่อยู่รอบตัวเรากระทบกระเทือน น้ำใจน้อยที่สุด ถ้าหากจะแนะอะไรใคร ก็สะกิด ในรูปแบบที่เหมาะสม พอให้เขาได้คิดนิด ๆ ยิ่งถ้าเป็นคนมีปัญญามาก ไปบอกตรง ๆ เขา ไม่ชอบ อาจจะต้องใช้วิธีการเหมือนพระพุทธเจ้าสอน พระสารีบุตร พระสารีบุตรท่านมีปัญญามาก พอฟัง ธรรมจบบริวารเป็นพระอรหันต์หมด แต่พระสารีบุตร ยังเป็นแค่พระโสดาบัน ต้องอีก ๓ เดือน กว่าจะได้ เป็นพระอรหันต์ และเป็นตอนฟังพระพุทธเจ้าเทศน์ สอนคนอื่น ตรองตามใบบรรลุธรรมเลย การสอนคน มีปัญญาก็เหมือนกัน บางทีเรากำลังบอกคนอื่น แล้ว เผอิญมันเป็นเรื่องที่สะกิดใจเขาให้ได้คิดขึ้นมาเหมือน กับเขาคิดเอง ถ้าเขารู้สึกว่าเขาคิดได้เอง ปัญหาจะ น้อย ผลกระทบจะน้อย ถ้าเราพยายามอย่างเต็มที่แล้ว แต่ยังเกิด เหตุกระทบกระทั่งกันขึ้น จะมีวิธีขอโทษ หรือปรับความเข้าใจกันอย่างไรให้บัวไม่ซ้ำ น้ำไม่ขุ่น เนื่องจากอารมณ์รักมันแรงเหมือนรถวิ่งเร็ว ๆ เวลาเกิดอุบัติเหตุมันจะแรง หน้ารถยุบพังไปเลย คนเราเวลามีอารมณ์รักก็หวานแหววเลย แต่พอเกิด อะไรขึ้นมาปุ๊บ รู้สึกเหมือนกับว่าแก้วมันร้าวไปแล้ว ชาตินี้คงยากจะประสานกันได้เหมือนเดิม แต่ว่า จริง ๆ แล้ว จะประสานกันได้หรือไม่มันขึ้นอยู่กับ ใจ ถ้าใจเกาะติดกับความรู้สึกเดิม ๆ ก็เหมือนกับ แก้วร้าว ประสานแล้วไม่เหมือนเดิม แต่ถ้าใจโปร่ง ไม่ได้ยึดติดกับเรื่องนั้น ก็พร้อมจะประสานให้เหมือน เดิมได้ แก้วร้าวไปเข้าโรงงานหลอมมาเป็นแก้วใบใหม่ มีรอยร้าวไหม ไม่มี เพราะฉะนั้นจะเป็นอย่างไรก็ สุดแท้แต่ใจของคุณ ถ้าใจใสสว่าง แล้วไม่ถือสาความ ผิดพลาดในเรื่องที่ผ่าน ๆ มา ทุกอย่างก็จะเป็นเรื่อง เล็ก หัวใจหลักอยู่ตรงนี้ ดีที่สุดคือชวนกันเข้าวัด ปฏิบัติธรรม ให้เป็นคู่บุญคู่บารมี รู้จักเรื่องบุญกุศล เรื่องการทำความดี มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งเหมือน กันดีกว่า ชีวิตครอบครัวจะเจริญก้าวหน้า หน้าที่ การงานทุกอย่างดีหมด อย่างนี้ถึงจะดี เจริญพร ติดตามชมรายการข้อคิดรอบตัวย้อนหลังได้ที www.dmc.tv ๙๑
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More