ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระคุณแม่ โดย พระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทตตชีโว )
ผ่าน นาน ๆ จะมีสักคันหนึ่ง พอได้ยินเสียงรถยนต์มาแต่ไกล ท่านจะออกไปยืนหน้าบ้านคอยว่า เมื่อไหร่ลูก
จะมา เจ้ารถคันนี้ลูกจะมาไหมนี่ ท่านเดินเข้า ๆ ออก ๆ ทั้งวัน แต่เมื่อลูกไม่มาหรือบางปีมาไม่ครบหน้า ท่าน
ก็ไม่พูดอะไรมาก แต่ว่าท่านนั่งซึม ๆ โยมพ่อก็นั่งซึม โยมแม่ก็นั่งซึม
นี่หัวอกแม่หัวอกพ่อเป็นอย่างนี้ เราอาจจะกำลังเที่ยวสนุกอยู่ อาจจะทำอะไรเพลิน ๆ อยู่ก็ตามที แต่
ว่า ท่านไม่ได้นึกเหมือนเรานึกหรอก ท่านนึกถึงเราแต่ในลักษณะของความห่วงใยเสียเป็นส่วนมาก กังวลว่าจะ
เจ็บไข้ได้ป่วยสารพัด เพราะฉะนั้น พอถึงเวลาแล้ว แค่เราไม่ไปหรือไปเยี่ยมท่านผิดเวลาก็มีผลถึงขนาดนี้
พวกเรานะ ถึงวัน ถึงเดือน ถึงปี ซึ่งเป็นที่รู้กันในครอบครัวละก็อย่าขาด ไปเยี่ยมคุณพ่อคุณแม่
ของเราให้ได้ ถ้าไม่ไปจะเป็นการทรมานคนแก่มากเลย
วันรวมลูก ๆ รวมคนในครอบครัว ส่วนมากที่เป็นที่รู้กันก็ คือ วันขึ้นปีใหม่ บางครอบครัวที่มีเชื้อ
สายจีนก็อาจเป็นวันตรุษจีน ของคนไทยแต่เดิมก็กำหนดเอาวันสงกรานต์ หรือในครอบครัวที่เคร่งศาสนาก็อาจ
ถือเอาวันเข้าพรรษาหรือวันอะไรก็ตามแต่ ส่วนที่ทันสมัยหน่อยก็อาจเป็นวันเกิดของคุณพ่อคุณแม่
วันเหล่านี้ ถ้าเราขาดไปสักคนหนึ่ง จะมีผลต่อท่านผู้เฒ่าอย่างมาก แต่ถ้าเราไปพร้อมหน้าพร้อมตากัน
ท่านจะดีใจ ดีใจเหมือนกับไปได้ยาวิเศษอะไรมาสักขนานหนึ่ง เอามาต่ออายุท่านอย่างนั้นแหละ นี่คือลักษณะ
ของความคิดถึงลูกของแม่ของเรา หรือของคุณพ่อของเรา ถ้าลูกคนไหนมองข้ามเรื่องนี้ไป ก็เหมือนทอนอายุ
ท่านผู้เฒ่าทีเดียว
อยากได้ข่าวจากลูกที่อยู่ไกล
เมื่อตอนที่จบการศึกษาจากเมืองไทย อาตมามีโอกาสไปศึกษาต่อต่างประเทศ ไปอยู่ 2 ปีไม่เคยส่ง
จดหมายมาถึงทางบ้านเลย เพราะว่าตอนที่ไปเรียนต่อนั้นลำบากอยู่พอสมควร สภาพหลาย ๆ อย่างบีบบังคับ
เอาพอแรง แล้วบวกกับเป็นคนไม่ชอบเขียนจดหมาย ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้วเป็นนิสัยที่ไม่ดีเลย ลูก ๆ ทั้งหลาย
อย่าเอาอย่างนะ
ไปอยู่ต่างประเทศได้อาทิตย์หนึ่ง โยมพ่อก็จดหมายไปด้วยความเป็นห่วงลูกชาย แล้วก็บอกว่าทุกคน
ทางบ้าน โดยเฉพาะโยมแม่คิดถึงมาก อาตมาก็ไม่ตอบ ฉบับที่ 2 ก็เฉยไม่ตอบ อีก 2-3 อาทิตย์ต่อมา
ฉบับที่ 3 ก็มา แล้วก็ไม่ตอบอีก เพราะว่าถ้าตอบก็ต้องพูดกันตรง ๆ
พูดกันตรง ๆ ก็คือ สภาพที่ไปเรียนไม่สบายเท่าไหร่นัก ตั้งแต่เข้าห้องเรียน ฟังภาษาไม่รู้เรื่องเลย
เพราะภาษาอังกฤษที่เรียนไปนั้น เป็นภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน แต่ว่าไปฟังภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลียเข้าก็
เลยฟังไม่รู้เรื่อง เหมือนอย่างกับฝรั่งที่มาเมืองไทย เขาเรียนภาษาไทยภาคกลางมา แต่พอมาถึงเมืองไทยแล้ว
แทนที่จะอยู่ภาคกลาง กลับไปอยู่ภาคใต้หรือภาคอีสานเข้า ก็คงจะมีอาการแบบเดียวกันนั่นแหละ เข้าห้อง
เรียน อย่าว่าแต่จดเลคเชอร์เลย ฟังก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ก็เลยไม่อยากเล่าให้ทางบ้านฟัง เลยไม่เขียน
จดหมายตอบ
พอ 3 ฉบับไม่ตอบ ทั้งโยมพ่อโยมแม่คงน้อยใจ โยมพ่อเลยเขียนจดหมายมาฉบับที่ 4 ท่านเขียนสั้น ๆ
บรรทัดเดียว "ลูกรัก ถ้ายังไม่ตายตอบจดหมายพ่อด้วย" แล้วปรากฏว่าไม่ตอบอีก ตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่ง
15