พระคุณแม่: การดูแลผู้สูงอายุและการเคารพ พระคุณแม่ เล่ม 1  หน้า 24
หน้าที่ 24 / 30

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการดูแลและเคารพพระคุณของมารดาที่สูงอายุ โดยเฉพาะการรักษาสุขภาพและการตั้งใจฟังคำพูดของท่าน แม้ว่าจะพูดซ้ำซากก็ตาม การดูแลท่านด้วยความละเอียดและการเข้าใจความต้องการของท่านเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ท่านรู้สึกมีค่าและมีสุขภาพดี รวมถึงแนวทางการเยียวยาความรู้สึกของคนวัยสูงอายุ ปัญหาที่เกี่ยวข้อง เช่น การสื่อสารและความลืม รวมไปถึงแนวทางในการทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวดีขึ้น

หัวข้อประเด็น

-การดูแลผู้สูงอายุ
-ความรักและพระคุณแม่
-การรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ
-การฟังและให้การสนับสนุน
-การเข้าใจความต้องการของผู้สูงอายุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระคุณแม่ โดย พระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทตตชีโว ) ห้องน้ำหรอก ท่านเตรียมกระโถนให้แม่ใช้ วันหนึ่งจะกี่เที่ยว ๆ ก็ตาม ให้แม่ใช้กระโถน แล้ววันไหนถ้าท่าน ไม่ได้ทำงาน ท่านอยู่บ้าน ท่านจะเอากระโถนไปเทเอง ถามท่านว่าทำไมไม่ให้คนใช้เทกระโถนแทน อันนี้ เป็นเงื่อนนะ ท่านบอกว่าแม่ 80 แล้ว โรคที่ห่วงที่สุดก็คือ พวกกระเพาะ พวกลำไส้ ไม่ทำงานหรือทำงานไม่เต็มที่ เราได้เอาไปเทเอง ได้เห็นชัด ๆ ว่า ตอนนี้น่ะท้องไส้แม่เป็นอย่างไร แม่ช่วยตัวเองเริ่มจะไม่ค่อยได้แล้ว การรักษาสุขภาพตัวเองชักจะไม่ไหว เพราะฉะนั้นเราต้องดูจะให้คนใช้ดูน่ะ อย่างไรเสียมันก็รอบคอบไม่เท่าเรา เพราะฉะนั้น ท่านเทกระโถนของแม่เอง ดูมันทุกวันไป มีอะไรเปลี่ยนแปลงในร่างกายของแม่ท่านรู้ตลอด ท่าน ไม่ได้เป็นแพทย์ แต่ว่าเมื่อติดตามสังเกตมากเข้า ๆ ก็จะรู้ ปรากฏว่าแม่ของท่านกว่าจะละโลกอายุก็ตั้ง 89-90 แน่ะ นี่เขาทำกันอย่างนี้ ยอมสละความสุขส่วนตัว มาเทกระโถนเพราะว่า พระคุณของพ่อของแม่ ถ้าเรา นึกให้ดีแล้ว พระคุณของท่านมากล้นเหลือหลาย จนกระทั่งกลบความปฏิกูลของอุจจาระของปัสสาวะได้หมด คนอย่างนี้ คนที่มองเห็นพระคุณของพ่อแม่ว่าท่วมท้นแก่ตัวเองอย่างเหลือหลาย จนกระทั่งกลบความปฏิกูลของ อุจาระปัสสาวะได้ แสดงว่า คุณธรรมในใจของท่านผู้นั้นไม่เบาเลย แม้เทวดาก็ต้องเกรงใจ นี้ก็เป็นข้อสังเกตสำหรับคนที่ดูแลแม่ตลอดว่า ไม่มีใครตกต่ำสักคน ถามว่าทำไมจึงไม่ตกต่ำ ตอบว่า คนอย่างนี้ ต้องเป็นคนละเอียดลออ ถ้าไม่ละเอียดลออแล้วดูแลแม่ไม่ได้ ท่านชอบเสื้ออะไร ผ้าถุงหรือกระโปรง อะไร สียังไง ทรงยังไง ต้องตามท่านให้ทันล่ะ ท่านชอบคุยเรื่องอะไร ก็ต้องเออออห่อหมกไปกับท่านได้ แล้วคนแก่คุยนี่คุยวนนะ จะเตือนก่อน บางทีเรื่องนั้นท่านคุยให้เราฟังตั้งสี่ห้าสิบครั้งแล้ว พอเจอหน้าเรา ท่านก็คุยใหม่อีกแหละ เหมือนอย่างกับเป็นเรื่องใหม่ ๆ ที่ท่านเพิ่งนึกได้อย่างนั้น ไอ้เราก็นึกว่าจะมีอะไรใหม่ พอเข้าไปฟัง โถ นี่เป็นครั้งที่ร้อยแล้วนี่ แต่ท่านลืม เอ้า เราก็ต้องตั้งใจฟัง ถ้าไม่ตั้งใจฟัง ท่านจะน้อยใจ ว่า อ๋อ โตแล้ว เดี๋ยวนี้เห็นท่านไม่มีค่า น้อยใจ คนแก่ถ้าน้อยใจเดี๋ยวอายุสั้น พอน้อยใจขึ้นมาไม่อยากอยู่ พอไม่อยากอยู่ก็เลยไม่อยากกิน ไม่อยากกิน เฮอะ สบาย นี่ให้น้อยใจไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถึงแม้เรื่องท่านพูดซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นร้อยครั้งก็ต้องฟัง ต้องฟังอย่างตั้งใจเสียด้วย แล้ว เห็นท่านลืม ๆ หลง ๆ อย่างนี้เถอะ เรื่องอะไรเมื่อ 20 ปี 30 ปี ท่านเล่าไม่ขาดตกบกพร่องเลยแม้แต่คำเดียว ท่านเล่าได้เป็นฉาก ๆ เชียวนะ อยู่กับผู้เฒ่าต้องหนักแน่น ชีวิตผู้เฒ่า ถ้าจะเปรียบกับวีดีโอ จะมีลักษณะกรอวีดีโอกลับนะ ท่านกรอเข้ามาดูเรื่อย ๆ แต่ว่าจะไป ถ่ายวีดีโอใหม่ ถ่ายไม่ค่อยติดหรอก คือเรื่องราวอะไรใหม่ ๆ โดยเฉพาะในวงการเมืองในวงสังคม ต่อให้เอา เทปมาให้ฟังเอาวีดีโอมาให้ดู ท่านก็จำไม่ค่อยได้ เพราะฉะนั้น ในการวางตัวกับผู้เฒ่า ต้องหนักแน่น แล้วก็ให้ความเคารพท่าน และอาศัยพฤติกรรม ของท่าน เป็นเครื่องเตือนใจเพื่อเตรียมตัวเอาไว้ว่า เมื่อเราแก่เราจะเป็นอย่างนี้ เราจะทำตัวยังไงจึงจะดี แล้วก็เรื่องนี้เองแหละ ที่ทำให้แม่ผัวกับลูกสะใภ้ ไม่ค่อยจะลงรอยกัน เรื่องความหลง ๆ ลืม ๆ ของท่านผู้เฒ่า ทั้งนั้น 24
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More