ข้อความต้นฉบับในหน้า
ดุจเกิดใหม่ครั้งที่ ๒
โพธิราชา เป็นดั่งนามแห่งการเกิดใหม่ใน
ร่มแก้วของพระพุทธศาสนา จากวันนั้นถึงวันนี้ ท่าน
ยังจดจำภาพพระภิกษุผู้มีพระคุณได้ติดตา และจำ
คำสอนเหล่านั้นได้ติดใจ ตลอด ๔๕ ปีมานี้ ท่าน
ตอบแทนความเมตตาของพระภิกษุรูปนั้น ด้วยการ
อุทิศชีวิตปกป้องพระพุทธศาสนาในวงล้อมของเพื่อน
วัดที่เห็นและบางสิ่งในบทสวด
ทันทีที่พระสมศักดิ์ ปิยสีโล เดินทางไปพบ
กับท่านโพธิราชา และไปถึงสถานที่ที่เรียกว่า “วัด”
สิ่งแรกที่พระอาจารย์มองเห็นนอกจากตัวอาคารที่จุ
คนได้ประมาณ 50 คน ก็คือ ศรัทธาที่ไม่เคยดับสูญ
และหัวใจอันยิ่งใหญ่ของท่านโพธิราชาที่บรรจุไว้
อย่างเต็มเปี่ยมภายในอาคารหลังนี้
ต่างศาสนิกได้อย่างมั่นคง แต่สังขารในวัย 50 ปี
ย้ำเตือนให้ท่านตระหนักดีว่าจำต้องมีเยาวชนรุ่นใหม่
ขึ้นมาสืบต่อโดยเร็ว แน่นอนว่าแอฟริกาช่างห่างไกล
เหลือเกินจากชาวพุทธที่อยู่ต่างซีกโลก คนที่พอจะให้
คำปรึกษาได้คงมีแต่บาทหลวงเท่านั้น และเหลือเชื่อ
เมื่อเพื่อนบาทหลวงคาทอลิกทราบเจตนารมณ์ของ
ท่าน ก็ใช้หัวใจที่เปิดกว้างนำหนังสือเวียนภายใน
คริสตจักรคาทอลิก ที่มีที่อยู่ของศูนย์ปฏิบัติธรรม
โจฮันเนสเบิร์กมาให้ แถมยังพูดว่าให้ติดต่อไปยังที่
อยู่นี้ คนที่นั่นจะช่วยคุณได้
ท่านโพธิราชาไม่รีรอที่จะส่งรูปถ่ายแนบไป
กับจดหมายเพื่อแสวงหาความร่วมมืออย่างปีติใจ
การติดต่อเกิดขึ้นกว่า ๑๐ ครั้ง จนกระทั่งสำเร็จ และ
ในที่สุดวันที่รอคอยก็มาถึง เมื่อพระสมศักดิ์ ปิยสีโล
เจ้าอาวาสวัดพุทธโจฮันเนสเบิร์ก เดินทางไปเยี่ยม
ท่านถึงที่ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นี่เป็น
ครั้งแรกที่ท่านโพธิราชาจะได้พบเพื่อนชาวพุทธจาก
โลกภายนอก
วัดของท่านช่างดูเรียบง่าย ไฮคลาส เป็น
พุทธสถานที่ใหญ่ที่สุดในคองโก “พื้นห้องปูด้วยพรม
หลากสี ไม่มีพระประธาน มีเพียงภาพพระพุทธเจ้า
ใส่กรอบ” นี่คือ คำอธิบายเพียงสั้น ๆ ง่าย ๆ จาก
พระอาจารย์ที่บอกกล่าวแก่คนที่อยากรู้ว่า วัดที่นั่น
เป็นอย่างไรบ้าง แต่เพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้ชาวพุทธ
ที่คองโกหยัดสู้มาได้ถึง ๔๕ ปี และการมาถึงของ