ข้อความต้นฉบับในหน้า
เป็นงานระดับประเทศ แต่ช่วงหลังมีคนช่วยงานมาก
ขึ้น สามารถแบ่งงานกันได้ ก็เลยไม่หนักเหมือนเก่า
เห็นรุ่นหลัง ๆ หลาย ๆ คน มารายงานตัวรับปริญญา
เอาปริญญามาให้ดู ก็เห็นว่าชาวชมรมพุทธฯ ได้
เกียรตินิยมเยอะ อันดับ ๑ ก็มี เหรียญทองก็มี
เหรียญเงินก็มี เห็นแล้วก็ชื่นใจว่าอย่างนี้ใช้ได้ ได้
ทั้งวิชาความรู้ ได้ทั้งกิจกรรม และได้ฝึกตัวเอง
ด้วยการทำงานจริงไปด้วย อย่างนี้เป็นประโยชน์มาก
ก็ให้พวกเราทุกคนสร้างวินัยในการศึกษา
เล่าเรียนให้ดี ถึงเวลาเรียนก็เรียน ถึงเวลาทำกิจกรรม
ก็ทํา เวลาเรียนไม่ห่วงกิจกรรม เวลาทำกิจกรรมก็
ไม่ห่วงเรื่องเรียน จัดสรรเวลาให้ดี แล้วการศึกษา
ของเราจะไปได้
ประการที่ ๒ ชีวิตในมหาวิทยาลัย นอกจาก
เรื่องการศึกษาเล่าเรียนแล้ว ยังมีเรื่องของเพื่อน
ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ เพราะคนที่เรียนอยู่
มหาวิทยาลัยเป็นวัยรุ่น อายุประมาณ ๑๘ - ๒๓ ปี
เป็นวัยที่กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ต้องการเพื่อน
ต้องการสังคม ตั้งแต่เริ่มต้นเข้าไปในมหาวิทยาลัย
แรก ๆ เขาจะมีการรับน้อง ปฐมนิเทศที่หอประชุม
ใหญ่ เสร็จแล้วพี่ ๆ แต่ละคณะก็มารอรับขวัญน้อง
ทําพิธีรับน้องใหม่
ตอนอาตมาเป็นน้องใหม่ ก็มีคนมารับน้อง
เราเหมือนกัน แต่ว่าเขารับในเชิงสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ดี
ไม่ได้มีอะไรรุนแรงเหมือนปัจจุบัน พออยู่มาจนเป็น
พี่เก่าแล้วก็ดูแลน้องแบบเดียวกัน รับน้องแล้วก็
แนะนำให้คำปรึกษา เพื่อให้เขาประสบความสำเร็จ
ในการศึกษาเล่าเรียนในมหาวิทยาลัย
ๆ
พออยู่คณะแพทย์ฯ ปีสูง ๆ ปี ๔ ปี ๕ เริ่ม
ฝึกงานรักษาคนไข้ เราจะรู้เลยว่าในช่วงรับน้องใหม่
ของคณะ เช่น คณะวิศวะฯ นิสิตคณะแพทย์ฯ ที่อยู่
เวรห้องฉุกเฉิน จะต้องตั้งหลักเตรียมรับ ต้องเตรียม
กลูโคสเป็นน้อง ๆ เลย ที่เรียกเป็นน้อง ๆ ที่จริงก็
คือ เข็มฉีดยาเล่มโต ๆ เล่มหนึ่งที่จุกลูโคสเข้มข้น
ๆ
ได้ตั้ง ๕๐ ซีซี พอดึก ๆ ประมาณ ๔ - ๕ ทุ่ม จะมี
น้องใหม่วิศวะฯ ที่ถูกรุ่นพี่มอมเหล้าจนกระทั่งเมา
ไม่ได้สติ กึ่ง ๆ จะช็อก ถูกหามมาส่งโรงพยาบาล
พอมาถึงหมอก็จะฉีดกลูโคสเข้าเส้นเลือด เพราะว่า
กลูโคสจะทำให้สร่างเมาได้ พอกลูโคสเข้าเส้นเลือด
คนไข้ที่เมาไม่ได้สติก็จะเริ่มสร่างเมา กลูโคสที่ฉีดเข้า
ไปจะป้องกันไม่ให้ช็อกหรือเกิดอันตรายที่ร้ายแรง
มีเพื่อนอาตมาอีกคนหนึ่งเข้าวิศวะฯ เหมือน
ๆ
กัน เดิมก็เรียนดี เทอมแรกไม่หนักขนาดคนแรก
ได้เกรดประมาณสองนิด ๆ แต่ต่อมาเกเร ดื่มเหล้า
เมายา เกรดก็เหลือ ๑.๘, ๑.๙, ๒.๑ ประมาณนี้ เรียน
๕ ปีจบ ไปทำงานก็ไม่ใคร่จะประสบความสำเร็จ
ๆ
เพราะติดนิสัยเป็นคนขี้เมาไปแล้ว อยู่โรงเรียนเตรียมฯ
ไม่เคยดื่มเหล้าเลย ดื่มครั้งแรกตอนรับน้องใหม่
ถูกรุ่นพี่คะยั้นคะยอก็เลยดื่ม ต้องเฮฮาเข้ากับรุ่นพี่
และเพื่อน ๆ พอดื่มบ่อย ๆ ก็ติดเป็นนิสัย สุดท้าย
ชีวิตก็เปลี่ยนไป เห็นแล้วยังนึกเสียดาย น่าจะ
ปรับปรุงแก้ไขวิธีรับน้องใหม่ ซึ่งเข้าใจว่าเดี๋ยวนี้คง
มีหลายสถาบันที่ปรับปรุงดีขึ้นแล้ว ถ้าหากที่ไหน
ยังมีอย่างนี้อยู่ขอให้เปลี่ยนเถิด ไม่เป็นประโยชน์
อะไรเลย มีแต่โทษ
มีบางคนบอกว่าน่าจะยกเลิกการรับน้องใหม่
ไปเลย ก็ขอให้แยกระหว่างคำว่า “การรับน้องใหม่
กับ “วิธีรับน้องใหม่” ว่าไม่เหมือนกัน การรับน้อง
ใหม่เป็นคำนาม หมายถึงเรื่องการรับน้องใหม่ทั้งหมด
อันนี้อาตมาคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี ไม่เสียหาย แต่วิธีรับ
น้องใหม่ซึ่งเป็นคำกริยา หมายถึงว่า ในการรับน้อง
เราจะทำอย่างไร ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นข่าวครึกโครม
ในสื่อมวลชนมักจะเป็นปัญหาวิธีรับน้องใหม่มากกว่า
ในทางสงฆ์ก็มีการรับน้องใหม่ตั้งแต่บวชเลย
พอพระอุปัชฌาย์บวชพระใหม่เสร็จ ก็รับศิษย์ใหม่
หรือรับน้องใหม่ด้วยการให้โอวาทก่อน คือ บอก
อกรณียกิจ ๔ อย่าง ที่พระใหม่ทำไม่ได้ว่ามีอะไร
บ้าง จะได้ไม่พลาด แล้วพระพี่เลี้ยงก็ต้องคอยดูแล