พระบรมครูและอริยมรรคมีองค์แปด วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2553 หน้า 66
หน้าที่ 66 / 108

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการชักชวนของพระองค์ให้ผู้อื่นปฏิบัติอริยมรรคมีองค์แปด ซึ่งทำให้มีผู้คนมากมายกำจัดปัญหาชีวิตตามคำสอนของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นที่ยกย่องในหลายระดับชนชั้นและส่งเสริมความเสมอภาคในการปฏิบัติ โดยเฉพาะผู้บรรลุธรรมต้องมีคุณสมบัติ 5 ประการ ได้แก่ ศรัทธา, อาพาธน้อย, ไม่โอ้อวด, ปรารภความเพียร เป็นต้น การปฏิบัติที่มีวินัยและสัจจะต่อคำสอนจะนำไปสู่การบรรลุธรรม สร้างความเจริญภายในให้เกิดขึ้น

หัวข้อประเด็น

- พระบรมครู
- อริยมรรคมีองค์แปด
- คุณสมบัติของผู้บรรลุธรรม
- ศรัทธาในการปฏิบัติ
- การปฏิบัติตามพระธรรมวินัย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หลังจากนั้น พระองค์ก็ทรงชักชวนให้ผู้อื่นปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ - ตามมา ยังผล ให้มีผู้คนจำนวนมากกำจัดปัญหาประจำชีวิตทั้ง ๓ ประการนั้นตามพระองค์ไปได้สำเร็จ ชาวโลกจึงพากันยกย่องว่า พระองค์ทรงเป็น “พระบรมครู” ศิษย์สาวกที่บรรลุธรรมตามคำสอนของพระองค์ จึงมีทุกระดับชนชั้น ตั้งแต่กษัตริย์ ขุนนาง พ่อค้า ประชาชน ไม่ยกเว้นแม้แต่คนยากจนเข็ญใจ ทุกคนล้วนมีสิทธิเสมอภาค ในการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามพระองค์ไปได้ทั้งสิ้น คุณสมบัติของผู้บรรลุธรรม ในการสอนนั้น พระพุทธองค์ทรงทราบดีว่า บุคคลที่จะปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ได้เต็มที่นั้น จะต้อง “ออกบวช” และต้องฝึกตัวเองให้เป็น “ผู้มีคุณสมบัติ ๕ ประการ ที่เหมาะแก่การบรรลุธรรม” ได้แก่ 6). เป็นผู้มีศรัทธา หมายถึง ผู้ที่ยึดเอาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นแบบการกำจัด ทุกข์อย่างอุทิศชีวิตเป็นเดิมพันไว้ประจำใจของตน เพื่อให้เกิดเป้าหมาย เกิดกำลังใจ ที่ จะศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระองค์ท่านด้วยความเคารพเลื่อมใสอย่างอุทิศ ชีวิตเป็นเดิมพัน 6 ๒. เป็นผู้มีอาพาธน้อย หมายถึง ผู้ที่รู้ประมาณในการใช้สอยปัจจัย ๔ ให้เหมาะสม กับวัยและสุขภาพของตน รวมถึงรู้จักการดูแล ๕ ห้องชีวิต ได้แก่ ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องแต่งตัว ห้องอาหาร ห้องทำงาน ให้มีความสะอาด เป็นระเบียบ ไม่รกหู ไม่รกตา ไม่รกใจ และไม่ทำลายสุขภาพของตนตามพระธรรมวินัย ๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา หมายถึง ผู้ที่ไม่มีข้อแม้เงื่อนไขในการฝึกอบรมตน ตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด โดยเป็นผู้มีสัจจะต่อหน้าที่ สัจจะต่อการงาน สัจจะต่อ วาจา สัจจะต่อบุคคล สัจจะต่อศีลธรรม จึงจะสามารถทำให้ความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ อันเป็นต้นทางแห่งการบรรลุอริยสัจ เกิดขึ้นในตนได้สำเร็จ C. เป็นผู้ปรารภความเพียร หมายถึง ผู้ที่หมั่นแก้ไขนิสัยที่ไม่ดีของตนเองให้หมดไป หมั่นพัฒนานิสัยที่ดีให้เพิ่มพูนในตน และหมั่นกลั่นใจให้ผ่องใสเป็นปกติ เช่น มีความตรง ต่อเวลาในการทำกิจวัตรต่าง ๆ ทั้งตื่นนอนตรงเวลา ทำงานตรงเวลา รับประทานอาหาร ตรงเวลา ทำความสะอาดตรงเวลา เป็นต้น และที่สำคัญที่สุด ก็คือ หมั่นเจริญภาวนาตรงเวลา โดยไม่มีข้อแม้เงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ๆ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More