ข้อความต้นฉบับในหน้า
การอยู่ธุดงค์ คือ การบำเพ็ญตบะที่ยิ่งยวดกว่า
การประพฤติธรรมโดยทั่วไป เช่น การรักษาศีล ๘
หรืออุโบสถศีล มีจุดประสงค์เพื่อขจัดกิเลสให้หลุด
ร่อนออกจากใจ เรียกได้ว่า เป็นการทำสงครามภายใน
คือรบกับกิเลส ถ้าจะเปรียบการรักษาโรค ก็ต้องบอก
ว่าเป็นการผ่าตัดสดๆ กันเลยทีเดียว การอยู่ธุดงค์
เป็นการปฏิวัติอุปนิสัยที่ไม่ดีต่างๆ ที่แก้ไขได้ยาก
เมื่อมาอยู่ธุดงค์แล้ว แม้นิสัยที่ไม่ดีจะมีเหลือบ้าง
ก็จะไม่ฟูขึ้นฟุ้งซ่านให้รำคาญใจ อานิสงส์การอยู่
ธุดงค์นั้นจะทำให้เราเข้าถึงธรรมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
จะเป็นผู้ที่ปฏิบัติสะดวก บรรลุธรรมได้เร็วไปทุกภพ
ทุกชาติ ตราบวันถึงที่สุดแห่งธรรม
คำว่า “ธุดงค์” แปลว่า องค์คุณเครื่องกำจัด
กิเลส เป็นธรรมเนียมของพระผู้รักในการปฏิบัติธรรม
ซึ่งท่านสาธุชนคงนึกภาพพระเดินถือกลด หรือที่
เรามักเรียกว่า “พระธุดงค์” โดยท่านจะออกเดินทาง
รอนแรมด้วยเท้า มีเพียงเครื่องอัฐบริขารเท่านั้น
เพื่อแสวงหาที่วิเวกสงัด ปักกลดพักอาศัยตามร่มเงา
ไม้ หรือตามถ้ำภูเขา เพื่อเข้าไปศึกษาเรียนรู้ใน
“มหาวิทยาลัยป่า” เรียนรู้วิชชาชีวิตด้วยการนั่งสมาธิ
บำเพ็ญจิตภาวนา ซึ่งจะเป็นทางมาแห่งการได้บรรลุ
วิชชา ๓ วิชชา ๘ อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทาญาณ
และจรณะ ๑๕ การอยู่ธุดงค์จึงถือว่าเป็นการดำเนิน
ตามรอยบาทพระบรมศาสดา
วัตถุประสงค์ของการอยู่ธุดงค์
๑. อัปปิจฉตา ฝึกความเป็นผู้มักน้อย
๒. สันตุฏฐิตา ฝึกเป็นผู้มีความสันโดษ
๓. สัลเลขตา ฝึกเป็นผู้มีความขัดเกลากิเลส
ให้เบาบาง
P.
สงบ สงัด
ปวิเวกตา ฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้รักความ
๕. อิทมัฏฐิกตา ฝึกการแสวงหาสิ่งที่เป็น
สาระของชีวิต คือการได้บรรลุธรรมภายใน