การอ่านสร้างปัญญาในคนไทย วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน ธันวาคม พ.ศ.2550 หน้า 80
หน้าที่ 80 / 100

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงปัญหาการอ่านหนังสือในคนไทยที่มีน้อยมากเฉลี่ยปีละ ๕ เล่ม ซึ่งรวมหนังสือเรียนและไม่รวมสื่ออื่นๆ โดยเปรียบเทียบกับชาวอเมริกันที่อ่านปีละ ๕๐ เล่ม รวมถึงอภิปรายถึงความแตกต่างระหว่างการฟังและการอ่าน การอ่านมีความซับซ้อนและช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่การดูทีวีเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีแต่ไม่สามารถเสริมสร้างความคิดได้เท่ากับการอ่าน.

หัวข้อประเด็น

-อัตราการอ่านหนังสือของคนไทย
-การเปรียบเทียบกับชาวต่างชาติ
-ความแตกต่างระหว่างการฟังและการอ่าน
-ความสำคัญของการอ่านในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๗๘ ทันโลก ทันธรรม เรื่อง : พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ (M.D., Ph.D.) ochrym การอ่าน สร้างปัญญา วันนี้ได้รับอาราธนาให้พูดถึงเรื่องของคนไทย กับการอ่าน เพราะมีข้อมูลมาจากสำนักงานสถิติ แห่งชาติว่า คนไทยเราอ่านหนังสือน้อยมากเฉลี่ย แล้วตกปีหนึ่งคนละ ๕ เล่มเท่านั้น แล้ว ๕ เล่มที่ ว่ารวมหนังสือเรียนด้วยนะ ถ้าหักหนังสือเรียนออก ไปไม่รู้ว่าจะเหลือถึง เล่มหรือเปล่า ยิ่งถ้าหัก ค หนังสือพิมพ์ออกไปอีกอาจจะแทบไม่เหลือเลย คนส่วนใหญ่จะใช้เวลาไปกับการดูทีวี เล่นเกมส์ เสียเยอะ พอไปดูประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าคน เขาอ่านหนังสือปีหนึ่ง ๕๐ เล่ม มากกว่าคนไทย ๑๐ เท่าตัว ถามว่าการฟังกับการอ่านต่างกันอย่างไร ถ้าเราไม่อ่านหนังสือใช้ดูทีวีเอาไม่ได้หรือ เพราะ มันก็เป็นที่มาของข้อมูลความรู้เหมือนกัน คำตอบ คือมันก็พอได้เหมือนกัน แต่ไม่สมบูรณ์ เราลองสังเกตดูอย่างนี้ ถ้าเราไปดูภาพยนตร์ แล้วเอามาเล่าให้เพื่อนฟัง เราก็แทบไม่ต้องคิด อะไรมาก ดูมาอย่างไรได้ยินได้ฟังมาอย่างไรก็เอา มาเล่าต่อ อาจจะใช้เวลา ๒๐ นาที หรือ ๓๐ นาที ก็แล้วแต่เรื่องว่ายาวละเอียดซับซ้อนแค่ไหน แต่ถ้าหากให้เราเขียนจดหมายไปเล่าให้ เพื่อนที่อยู่ต่างถิ่นอ่าน เรื่องเดียวกันเราอาจต้องใช้ เวลาหลายชั่วโมงเลยทีเดียว เผลอๆ เป็นวัน บาง คนบอกเขียนจดหมายยาวสามหน้าบางทีสามวันยัง ไม่ค่อยอยากจะจบ เพราะในการเขียนเราต้องใช้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More